ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปรานี มาทำมา, รณภพ เกตุทอง

ชื่อเรื่อง/Title: การดูแลสุขภาพจิตชุมชน : กรณีศึกษาพิธีกรรมการลงเทวดา

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 165.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ระบบการดูแลสุขภาพจิตของประเทศไทยในปัจจุบันมุ่งเน้นการนำแนวคิดจากตะวันตกมาใช้ ทั้งที่ประเทศไทยยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่มากมายที่สามารถนำมาใช้ได้ ผลของการนำแนวคิดตะวันตกมาใช้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจว่ามีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในความเป็นจริง การดูแลสุขภาพจิตในชุมชนโดยชุมชนเองนั้นเกิดขึ้นมาช้านานแล้วแต่ยังขาดการตรวจสอบอย่างเป็นระบบจึงขาดความน่าเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้ทำการค้นหาและศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการดูแลสุขภาพจิต โดยเลือกศึกษา “ พิธีกรรมการลงเทวดา “ .ในเขตอำเภอน้ำปาด เนื่องจากเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านนิยมใช้กันมากที่สุด แต่ ณ ปัจจุบันยังขาดการศึกษาและพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพิธีกรรมการลงเทวดาที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพจิตของคนในชุมชน ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในพื้นที่อำเภอท่าปลาเท่านั้น ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาในหมู่บ้านที่มีหมอเทวดาอาศัยอยู่จำนวน 15 หมู่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลหลักคือสมาชิกครอบครัวที่เชิญหมอเทวดาไปทำพิธี ผู้ป่วย ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านทั่วไปที่รู้ข้อมูลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2547 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการทำพิธีกรรม มีการบันทึกด้วยวีดีโอ เทป และภาพถ่ายตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Collazi ผลการวิจัย พบว่า พิธีกรรมลงเทวดา เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการทางชีวิต อาศัยสภาวะวิกฤตในช่วงเจ็บป่วย ไม่มีกำลังใจ ท้อแท้ เกิดพิธีกรรมเป็นเครื่องมือ มีหมอเทวดาเป็นกลไก ในการนำอำนาจ จากความเชื่อเรื่องผี มาควบคุมทางด้านจิตวิญญาณ พิธีกรรมการลงเทวดาเป็นหนึ่งในหลายปัจจัย ที่มีบทบาทในการกล่อมเกลาทางสังคม ที่สั่งสมท่ามกลางการดำเนินวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็น พลวัตของกระบวนการการเรียนรู้ทางสังคมของชาวบ้าน ไปท่ามกลางความสัมพันธ์ระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ ภายใต้สภาพ และเงื่อนไขที่เป็นจริงของชุมชนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อเสนอแนะ 1) หน่วยงานสาธารณสุขควรยืนยันประสิทธิภาพของพิธีลงเทวดา และเผยแพร่หรือสนับสนุนให้มีการรักษาวัฒนธรรมนี้ต่อไป 2) ควรทำการสำรวจและรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิต จากนั้นนำมาศึกษาเชิงวิจัยและพัฒนาเพื่อหารูปแบบการ ดูแลสุขภาพจิตที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาสากล

Keywords: สุขภาพจิต, พิธีกรรม, ชุมชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, พิธีกรรมลงเทวดา, สุขภาพจิตชุมชน, ความเชื่อ, ผี, หมอเทวดา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

Code: 20050000117

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -