ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จันทร์เพ็ญ ธัชสินพงษ์

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัวบุคคลปัญญาอ่อน

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 121-122.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การดูแลบุคคลปัญญาอ่อนเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาในการดูแลแต่ละวันนานและเรื้อรังตลอดชีวิต ทำให้ผู้ดูแลไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว ไม่มีเวลาที่จะปฏิบัติบทบาทที่เคยทำ ขาดการพักผ่อน ขาดการเข้าสังคม ประกอบมีภาระทางเศรษฐกิจที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นสิ่งกดดันให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตต่อผู้ดูแลซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดูแลเด็กโดยตรง ดังนั้นบุคลากรที่ให้บริการส่งเสริมพัฒนา การบุคคลปัญญาอ่อนจึงจำเป็นต้องเร่งรีบดำเนินการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนควบคู่ไปกับการให้บริการบุคคลปัญญาอ่อนตามปกติด้วย วัตถุประสงค์ 1.เพื่อสำรวจภาวะสุขภาพจิตของผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อน 2.ให้การช่วยเหลือผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิต 3.เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการบุคคลปัญญาอ่อนและครอบครัว กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่รับบริการส่งเสริมพัฒนาการ ณ ตึกเด็ก 1 กลุ่มการพยาบาล สภาบันราชานุกูล จำนวน 35 คน ระยะเวลาดำเนินการ สิงหาคม 2547-พฤษภาคม 2548 สถานที่ดำเนินการ ตึกเด็ก 1 กลุ่มการพยาบาล สถาบันราชานุกูล วิธีดำเนินการ 1.สำรวจภาวะสุขภาพจิตผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่รับบริการส่งเสริมพัฒนาการก่อนและหลังดำเนินการโดยใช้แบบคัดกรองปัญญหาสุขภาพจิต Thai GHQ-12 2.สัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อน ที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิต 3.ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual counseling) 4.ดำเนินกิจกรรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษา (Psdycho-education Group) 5.ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อน (Mental Retardation’s parent-Empowermwent) 6.สรุปและประเมินผล 7.จัดทำเอกสาร รายงานสรุปผลโครงการ คู่มือการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม คู่มือการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่บุคคลปัญญาอ่อน และเอกสาร 108 ถาม-ตอบที่ผู้ดูแลเด็กพิเศษควรรู้ เล่ม 1 งบประมาณ ไม่ใช้งบประมาณ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนได้รับการสำรวจภาวะสุขภาพจิต จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.67 พบว่ามีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 7 รายคิดเป็นร้อยละ 20 2.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.72 3.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการให้การปรึกษาปัญหาเป็นรายบุคคล (Individual counseling) จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.72 4.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษา (Psycho-education Group) จำนวน 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.72 5.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อน (Mental Retardation’s parent-Empowerment)จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.58 6.มีเอกสาร รายงานสรุปผลโครงการ คู่มือการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม คู่มือการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนและเอกสาร 108 ถาม-ตอบที่ผู้ดูแลเด็กพิเศษควรรู้ 1 เล่ม เชิงคุณภาพ 1.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนสามารถระบุปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเองได้ 2.ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนมีความตระหนักต่อการดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับ 1.บุคลากรตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนมากขึ้น 2.ได้รูปแบบและเทคโนโลยีการให้บริการบุคคลปัญญาอ่อนและครอบครัว

Keywords: สุขภาพจิต, ครอบครัว, บุคคลปัญญาอ่อน, ปัญญาอ่อน, ผู้ดูแล, แนวโน้ม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: กลุ่มการพยาบาล สถาบันราชานุกูล

Code: 2005000091

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: