ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เกศยุพี วัฒนะธนากร

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการผลิตที่รัดตัวสำหรับบุคคลปัญญาอ่อนที่ไม่ให้ความร่วมมือในการวัดอุณหภูมิ

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 123.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล หอผู้ป่วยอภิบาล กลุ่มการพยาบาล สถาบันราชานุกูล ให้การพยาบาลบุคคลปัญญาอ่อนที่มีภาวะทางกายและจิตแทรกซ้อน ในการปฏิบัติการพยาบาลนั้นจำเป็นต้องมีการวัดอุณหภูมิผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมง ในบุคคลปัญญาอ่อนที่ไม่ให้ความร่วมมือจากสาเหตุความบกพร่องทางกายหรือมีปัญหาพฤติกรรมทำให้ต้องใช้บุคลากรในการวัดอุณหภูมิผู้ป่วยบุคคลปัญญาอ่อนที่ไม่ให้ความร่วมมือมากกว่า 2 คนบางครั้งทำให้อุปกรณ์ในการวัดอุณหภูมิชำรุดเสียหาย ซึ่งในปัจจุบันนโยบายรัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบงาน โดยเน้นด้านคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ของงาน ภายใต้การประหยัดงบประมาณ เวลา บุคลากร ฯลฯ หออภิบาลได้พยายามคิดค้นและพัฒนารูปแบบที่รัดตัวในการวัดอุณหภูมิผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ เพื่อลดความสูญเสียอุปกรณ์วัดอุณหภูมิลดจำนวนบุคลากร และเวลาที่ต้องใช้ในการวัดอุณหภูมิ วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้บุคคลปัญญาอ่อนที่ไม่ให้ความร่วมมือในการวัดอุณหภูมิสามารถวัดอุณหภูมิ ด้วยอิริยาบถของตนเอง เช่น ยืน เดิน นั่ง ฯลฯ ได้ 2.เพื่อลดอัตราการใช้บุคลากรในการวัดอุณหภูมิในรายที่ไม่ให้ความร่วมมือ 3.สามารถลดเวลาการวัดอุณหภูมิของผู้ป่วยทั้งหมดก่อนการใช้ที่รัดตัว ขอบเขตการทำโครงการ บุคคลปัญญาอ่อนในสถาบันราชานุกูล ที่อยู่ภายในหอผู้ป่วยต่างๆ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประชุมคณะทำงานของหออภิบาลเพื่อทำการปรับปรุงที่รัดตัวสำหรับบุคคลปัญญาอ่อนที่ไม่ให้ความร่วมมือ 2.มีการประเมินสถานการณ์ก่อนการปรับปรุง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ในการปรับปรุงงาน 3.วางแผนดำเนินการ ออกแบบที่รัดตัว 4.ทดลองปฏิบัติในช่วงระยะแรกจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วทดลองการใช้ใหม่ 5.ปฏิบัติตามแผนโดยการตัดเย็บหลังจากได้ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ผลการดำเนินงาน 1.การวัดอุณหภูมิผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือโดยใช้ที่รัดตัว สามารถใช้บุคลากร 1 คน ต่อผู้ป่วย 1 คน 2.ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะวัดอุณหภูมิ 3.ผู้ป่วยสามารถนั่ง ยืน เดิน ได้ในขณะวัดอุณภูมิ 4.บุคลากรสามารถปฏิบัติภารกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้ ขณะวัดอุณหภูมิ 5.สามารถลดเวลาการวัดอุณหภูมิผู้ป่วยทั้งหมดก่อนการใช้ที่รัดตัว ข้อเสนอแนะ สามารถใช้ที่รัดตัวผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น การทำแผล หรือ เย็บแผลบริเวณศีรษะ ฯลฯ

Keywords: ปัญญาอ่อน, การวัดอุณหภูมิ, ความร่วมมือ, โครงการผลิตที่รัดตัว, ภาวะเสี่ยง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: สถาบันราชานุกูล

Code: 2005000092

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: