ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิเชฐ อุดมรัตน์

ชื่อเรื่อง/Title: รูปแบบในการสั่งยารักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยเป็นครั้งแรกของจิตแพทย์ไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 44 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2543 , หน้า 119-124

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบในการสั่งยารักษาโรคจิตของจิตแพทย์ไทยในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยเป็นครั้งแรก วิธีการศึกษา ให้จิตแพทย์ตอบแบบสอบถามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเภทชนิดหวาดระแวงที่เพิ่งป่วยเป็นครั้งแรก โดยให้ถึงขนาดยาเฉลี่ยของ haloperidol ที่จะสั่งใช้ เมื่อใดจึงถือว่าผู้ป่วยดื้อต่อยาตัวแรก และจะเลือกใช้ยาอะไรเป็นตัวที่สอง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเสนอเป็นร้อยละและสถิติเชิงพรรณนา แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลกับการศึกษาในประเทศอื่น โดยใช้สถิติ student t-test ผลการศึกษา มีจิตแพทย์ตอบแบบสอบถาม 98 ราย เป็นชายร้อยละ 76.5 หญิงร้อยละ 23.5 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 63.3) อายุ 30-40 ปี ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชร้อยละ 37.8 อยู่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยร้อยละ 36.7 อยู่โรงพยาบาลทั่วไปร้อยละ 24.5 พบว่าร้อยละ 39 ของจิตแพทย์จะ สั่งยา haloperidol ในขนาด 6-10 มก./วัน ร้อยละ 33 จะสั่งในขนาด 11-15 มก./วัน และร้อยละ 17 จะสั่งในขนาด 16-20 มก./วัน ตามลำดับ ร้อยละ 33 ของจิตแพทย์จะคอยอยู่ 22-35 วัน จึงจะเปลี่ยนยารักษาโรคจิตตัวแรกไปเป็นยาตัวที่สองโดยยาที่จิตแพทย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.1) นิยมเลือกใช้เป็นตัวที่สองคือ perphenazine สรุป จิตแพทย์ไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะสั่งยา haloperidol ในขนาดปานกลางให้กับผู้ป่วยจิตเภทชนิดหวาดระแวงที่ป่วยเป็นครั้งแรกในการรักษาระยะต้น และมักเลือก perphenazine เป็นยาตัวที่สองอย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ได้ศึกษาก่อนที่จะมียารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จึงน่าจะได้มีการศึกษาต่อไปว่า รูปแบบในการสั่งการรักษาโรคจิตของจิตแพทย์ไทยจะเปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่อย่างไร

Keywords: รูปแบบในการสั่งยารักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยเป็นครั้งแรกของจิตแพทย์ไทย, ผู้ป่วยจิตเภท, การรักษาโรคจิต, ผู้ป่วยจิตเภทชนิดหวาดระแวง, haloperidol, psychiatry, schizophrenia

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 100424402318

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.53MB