ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมรัก ชูวานิชวงศ์, วันชัย กิจอรุณชัย, จุฑามณี สุทธิสีสังข์, สุทธิพงศ์ ชิณเครือ, สันติชัย ฉ่ำจิตรชื่น, พิชิตพงษ์ อริยวงศ์

ชื่อเรื่อง/Title: การใช้ริสเพอริโดน และ ฮาโลเพอริดอล ในการรักษาผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2543 , หน้า 165-177

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของริสเพอริโดนซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ เปรียบเทียบกับฮาโลเพอริดอล ซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม ในการรักษาผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยการสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรกจำนวน 22 คน จากโรงพยาบาลศรีธัญญา เพื่อรักษาด้วยยาริสเพอริโดนในขนาด 2-6 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาฮาโลเพอริดอลในขนาด 10-40 มิลลิกรัมต่อวัน วัดประสิทธิผลการรักษาโดยมาตรวัด Positive and Negative syndrome scale (Panss) และวัดผลข้างเคียงโดยเฉพาะผลข้างเคียงทางระบบเอกซ์ตร้าปิรามิดอล (EPS) โดยมาตรวัด Extrapyramidal Symptom Rating Scale (ESRS) ผลการศึกษา ยาริสเพอริโดนและยาฮาโลเพอริดอล มีประสิทธิภาพในการลดค่าคะแนน PANSS ของผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบกับค่าคะแนนเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิ (p‹0.05)อัตราการตอบสนองต่อการรักษาที่ 8 สัปดาห์ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไดรับยาริสเพอริโดนขนาด 3.5 มิลลิกรัมต่อวัน มีอัตราการตอบสนองต่อยาร้อยละ 81.8 ซึ่งมากกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาฮาโลเพอริดอลขนาด 12.3 มิลลิกรัมต่อวัน (ร้อยละ 54.5 p=0.15) และค่าคะแนนใน depression subscale ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยารินเพอริโดน ลดลงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาฮาโลเพอริดอล ในระยะ 24 สัปดาห์ของการติดตามผลการรักษา กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาริสเพอริโดนพบผลข้างเคียง drowsiness และ tremor บ่อยกว่า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาฮาโลเพอริดอลพบผลข้างเคียง acute dystonia บ่อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องการรับยาต่อเนื่องในระหว่างการติดตามผลการรักษา เมื่อทำการตรวจร่างกาย วัดชีพจร ความดันโลหิต และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว ไม่พบความผิดปกติอื่น ๆ ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ตลอดระยะเวลาการรักษา สรุป ในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก ยาริสเพอริโดนจะมีประสิทธิผลในการรักษาอย่างน้อยเทียบเท่ากับยาฮาโลเพอริดอล แต่การรักษาด้วยริสเพอริโดนจะเกิดอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงชนิด acute dystonia ต่ำกว่าการรักษาด้วยฮาโลเพอริดอล แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยในการศึกษาครั้งนี้มีน้อย จึงไม่สามารถแสดงค่าความแตกต่างของประสิทธิผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงเป็นที่น่าสนใจในการทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นต่อไป

Keywords: โรคจิตเภท, ยา, schizophrenia, drug, antipsychotic drug, haloperidol, risperidone, risperidal, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 100434502293

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.50MB