ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิสมัย คู่พิทักษ์, เสาวลักษณ์ แย้มนาม, กาญจนา วณิชรมณีย์, อำไพ ทองเงิน

ชื่อเรื่อง/Title: เครื่องชี้วัดสุขภาพจิตชุมชน

แหล่งที่มา/Source: วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2529

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ ในการวิจัยครั้งนี้ เมื่อทราบตัวบ่งชี้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตชุมชน และเป็นแนวทางในการหาตัวบ่งชี้ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตในชุมชนอื่น ๆ โดยมีขอบเขตการศึกษาในครั้งนี้เฉพาะที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใน 4 อำเภอเท่านั้นตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา และสะดวกในการเก็บข้อมูล คือ อำเภอไชยา อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเมือง และอำเภอพุนพิน แยกกลุ่มตัวอย่างออกได้ 5 ลักษณะ คือ หมู่บ้านที่ประชากรนับถือศาสนาพุทธ และอาศัยอยู่ใกล้สวนโมกข์ (ตำบลเสม็ด ตำบลเวียง) หมู่บ้านที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (ตำบลภุมเรียง) หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง (ตำบลกรูด ตำบลช้างขวา) หมู่บ้านที่อยู่ชานอำเภอเมือง ( ตำบลมะขามเตี้ย ตำบลขุนทะเล) และสุดท้ายคือหมู่บ้านที่ความเจริญกำลังเข้าไปถึง (ตำบลหัวเตย ตำบลหนองไทร) เครื่องมือที่ใช้วัดสุขภาพจิต ประกอบด้วย แบบสำรวจความเครียด HOS (The Health Opinion Survey) ประกอบด้วย คำถามจำนวน 20 ข้อ และมีแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาเพื่อหาตัวบ่งชี้สุขภาพจิต เป็นคำถามแบบปลายเปิด และปลายปิด จำนวน 72 ข้อ คละกันไปใช้เป็นเครื่องมือวัดตัวแปรเกี่ยวกับภูมิหลังของบุคคล ตัวบ่งชี้สุขภาพกายตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในอาชีพ ตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในครอบครัว ตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในสังคม ตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในศาสนาและประเพณี รวมทั้งสมรรถนะในการอ่าน นอกจากนั้นก็เป็นความคิดเห็นจากนักจิตวิทยาผู้สัมภาษณ์ จำนวน 346 คน ผู้ชาย 179 คน ผู้หญิง 167 คน นับถือศาสนาพุทธ 239 คน นับถือศาสนาอิสลาม 107 คน จากการทดสอบสมรรถนะในการอ่าน 47.11% ไม่สามารถอ่านได้และอ่านได้บ้าง 52.89 % อ่านได้พอใช้และอ่านได้ดี ซึ่งถ้าดูจากระดับการศึกษาแล้ว ควรจะมีคนอ่านได้ถึง 58.84 % จึงพอสรุปได้ว่า ตัวบ่งชี้สุขภาพจิตที่เชื่อถือได้ของกลุ่มชาวไทยมุสลิมกับชาวไทยพุทธ ซึ่งดูเหมือนจะแตกต่างกัน แต่โดยแท้ที่จริงแล้วไม่ต่างกัน เพราะสองตัวแปรนี้ (ความพึงพอใจในอาชีพและความพึงพอใจในสังคม อาจจะใช้แทนกันได้ ฉะนั้นตัวบ่งชี้สุขภาพจิตของชาวไทยมุสลิม ซึ่งได้แก่สุขภาพกาย ความพึงพอใจในครอบครัว และความพึงพอใจในสังคม จึงไม่แตกต่างกันกับตัวบ่งชี้สุขภาพจิตของชาวไทยพุทธ ซึ่งได้แก่สุขภาพกาย ความพึงพอใจในอาชีพ และความพึงพอใจในครอบครัว

Keywords: community, HOS, indicator, psychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ชุมชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2529

Address: โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 101291702055

ISSN/ISBN: 0125-1422

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -