ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อัจฉรา สุขารมณ์, อรพินทร์ ชูชม

ชื่อเรื่อง/Title: องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น

แหล่งที่มา/Source: วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 สิงหาคม 2522; 5 - 23

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการแรก เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น จำแนกตามภูมิหลังของครอบครัวและลักษณะทางชีวสังคมที่ต่างกันประการที่สอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองสภาพแวดล้อมทางบ้านกับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น ประการที่สาม เพื่อศึกษาดูว่าองค์ประกอบใดที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการปรับตัวของนักเรียน วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษา ปีการศึกษา 2532 จำนวน 534 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของนักเรียน แบบสำรวจการปรับตัว แบบสำรวจความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองแบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้านและแบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของตนเอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เปรียบเทียบการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น จำแนกตามภูมิหลังของครอบครัวและลักษณะทาง ชีวสังคมที่ต่างกันปรากฏผลดังนี้ คือ 1.1 นักเรียนวัยรุ่นที่ครอบครัวมีฐานะเศรษฐกิจแตกต่างกัน มีความสามารถในการปรับตัวแตกต่างกัน โดยที่นักเรียนวัยรุ่นที่ครอบครัวมีฐานะเศรษฐกิจระดับสูง จะมีความสามารถในการปรับตัวดีนักเรียนที่ครอบครัวมีฐานะเศรษฐกิจระดับต่ำ แต่ไม่พบความแตกต่างในการปรับตัวระหว่างนักเรียนวัยรุ่นที่ครอบครัวมีฐานะเศรษฐกิจระดับสูงกับนักเรียนวัยรุ่นที่ครอบครัวมีฐานะเศรษฐกิจระดับปานกลางในทำนองเดียวกับนักเรียนวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง 1.2 นักเรียนวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกภายในครอบครัวแตกต่างกัน มีความสามารถในการปรับตัวแตกต่างกันด้วย โดยที่นักเรียนวัยรุ่นที่รวมกับบิดามารดาญาติน้องพี่มีความสามารถในการปรับตัวดีกว่านักเรียนวัยรุ่นที่อาศัยอยู่กับบิดามารดาโดยเฉพาะ 1.3 ความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น เมื่อจำแนกตามเพศอายุลำดับการเกิด ขนาดครอบครัว ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดาและอาชีพของมารดาที่แตกต่างกัน ไม่พบว่ามีความสามารถในการปรับตัวที่แตกต่างกัน 2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของนักเรียนวัยรุ่นความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง สภาพแวดล้อมทางบ้าน กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่นพบว่า 2.1 การอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของนักเรียนวัยรุ่น แบบรักสนับสนุนและแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น

Keywords: ภาวะสุขภาพจิต, การปรับตัว, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, นักเรียน, วัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: สถาบันวิทยาพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

Code: 101372502004

ISSN/ISBN: 0125-1422

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -