ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จินตนา สงค์ประเสริฐ, เสนอ พรประสิทธิ์, จิตติมา เทพจันทร์, บุญธรรม ขอบุญ, สำราญ นรสิงห์

ชื่อเรื่อง/Title: ดนตรีบำบัดกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

แหล่งที่มา/Source: วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2538, 23-30

รายละเอียด / Details:

ในปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีผลดียิ่งทั้งโรคทางกายและทางจิตเวช (กรีกเป็นชาติแรกใช้พิณดีดรักษาโรคซึมเศร้า) มีการค้นพบว่าดนตรีใช้ลดอาการเจ็บปวดจากการคลอดจากการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียดกังวล แยกตัวจากสังคม หรือคนพิการซ้ำซ้อนได้ดีตลอดจนผู้ป่วยจิตเภท ผู้มีพฤติกรรมถดถอย เหงาเศร้าได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้นำดนตรีบำบัดมาใช้กับผู้ป่วยจิตเวชทั้งโดยการเปิดเทปจังหวะเร้าใจ มีการขยับตัวเข้าจังหวะ ใช้ดนตรีแบบเคาะจังหวะ และอุปกรณ์เกิดเสียงให้ผู้ป่วยได้เขย่าหรือฟังเพลงแล้วให้บอกถึงความรู้สึกที่ได้จากเพลง โดยการบำบัดครั้งละ 1-1.30 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งพบว่าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง พฤติกรรมถดถอย แยกตัว จะกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างรวดเร็ว ในชั่วโมงที่ 2 ของการบำบัดผู้เหงาเศร้าจะยิ้มแย้มได้ หลังจากไม่เคยยิ้มมานานแล้ว นอกจากนี้สิ่งที่ได้รับจากการนำดนตรีบำบัดมาใช้คือผู้ป่วยไม่อยู่ในโลกส่วนตัว อาการสงบรวดเร็ว อัตราการอยู่โรงพยาบาลลดจำนวนวันลงกลับบ้านได้เร็วขึ้น มีความภาคภูมิใจในตนเอง รักสวยรักงาม มีวินัย ในการอยู่ร่วมกันมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ที่สำคัญพบว่ากลับไปอยู่บ้านได้นานขึ้น 6-10 เดือน จึงกลับเข้าโรงพยาบาลอีก (จากเดิมอยู่บ้านได้นานระหว่าง 1-3 เดือน) ดนตรีบำบัดใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ดี ต้นทุนต่ำประโยชน์สูงสามารถใช้ได้กับทั้งเด็กนักเรียนผู้ป่วยทางกาย ทางจิต ผู้พิการ ผู้มีปัญหาทางอารมณ์ใช้พัฒนาการทำงานและสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ของคนได้อย่างดียิ่ง

Keywords: music, music therapy, psychiatry, psychology, จิตบำบัด, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ดนตรี, ดนตรีบำบัด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2538

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 101382601041

ISSN/ISBN: 0125-1422

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -