ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เจริญ แจ่มแจ้ง, พนมศรี เสาร์สาร

ชื่อเรื่อง/Title: การสำรวจภาวะการฆ่าตัวตายของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพยาบาลจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2540, 1-16

รายละเอียด / Details:

ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทำให้เกิดการเจริญขึ้นในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยยืดอายุมนุษย์ให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นมีการกินดีอยู่ดี แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมก็ได้แก่ ปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคจากการประกอบอาชีพความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตาย ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นนโยบายที่ได้วางไว้ ทั้งนี้ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้ให้การพยาบาลโดยตรง จึงต้องการเน้นที่จะหาแนวทางในการดำเนินงานจัดมาตรฐานการพยาบาลที่จะสามารถป้องกันการฆ่าตัวตาย ทั้งก่อนและหลังการเกิดปัญหา รวมทั้งเพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการให้การดูแลที่เหมาะสมต่อไป การศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยใช้แบบสอบถามเพื่อคัดกรองภาวะการฆ่าตัวตายจำนวน 10 ข้อ และแบบสอบถามเพื่อวินิจฉัยโรคในรายที่คัดกรองแล้วได้ผลบวก เพื่อหาภาวะการซึมเศร้าโดยที่ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 15-60 ปี จำนวน 3,000 คนทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธี Two stage sampling โดยในขั้นแรกใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster sampling) เลือกกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน แล้วทำการสุ่มในแต่ละกลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ผลการศึกษา พบว่า มีคนที่เคยฆ่าตัวตายหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย 155 ราย คิดเป็นความชุก ร้อยละ 5.2 เพศหญิงมีการฆ่าตัวตายสูงกว่าเพศชาย คนที่แต่งงานแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็น 1.9 ต่อแสนประชากรและเพิ่มเป็น 3.11 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งสถิติดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลบางส่วนของผู้ที่มารับบริการเท่านั้น ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่มีแนวโน้มว่าจะพยายามฆ่าตัวตาย และเข้าไม่ถึงซึ่งบริการในการให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาดังนั้น จึงเป็นเหตุผลให้กรมสุขภาพจิต และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดต้องการที่จะศึกษาถึงปัญหาการฆ่าตัวตายดังกล่าวในประชากรเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อหาแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับมีการฆ่าตัวตายมากกว่า และส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำ รายได้น้อยมีอาชีพกรรมกรหรือรับจ้าง ลักษณะของครอบครัวเป็นแบบครอบครัวเดี่ยว วิธีการส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ การกินยา และเมื่อทำการทดสอบทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์แล้ว พบว่า การมีความผิดปกติทางโรคประสาทสามารถทำนายการฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 3.4 และ คะแนนรวมภาวะซึมเศร้าสามารถทำนายการฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 41 ผลการศึกษานี้ผู้วิจัยได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดมาตรฐานทางการพยาบาล เพื่อให้การส่งเสริมสุขภาพในคนปกติ การให้คำแนะนำปรึกษาตลอดจนการติดตามผลการในรายที่เคยมีประวัติฆ่าตัวตายแล้ว เพื่อช่วยลดปัญหาการฆ่าตัวตายที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นในสังคมไทยต่อไป

Keywords: depress, depression, depressive, epidemiology, psychiatry, suicide, การฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ซึม, ซึมเศร้า, ภาวะซึมเศร้า, ระบาดวิทยา, โรคซึมเศร้า, เศร้า, อาการซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2540

Address: โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต

Code: 101402801043

ISSN/ISBN: 0125-1422

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -