ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์

ชื่อเรื่อง/Title: ความไม่แน่นอนในการเจ็บป่วยและพฤติกรรมการเผชิญความไม่แน่นอนในเด็กวัยรุ่นโรคเอส แอล อี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข (12-15 สิงหาคม 2546 จังหวัดชลบุรี), หน้า 194.

รายละเอียด / Details:

เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาลักษณะระดับความไม่แน่นอนและพฤติกรรม ความเผชิญไม่แน่นอนในเด็กวัยรุ่นโรคเอส แอล อี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล ประชากร คือเด็กวัยรุ่นโรคเอส แอล อี ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เลือกแบบเจาะจง จำนวน 72 และใช้การสุ่มอย่างมีระบบเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2544 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ความไม่แน่นอน แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างเพื่อศึกษาลักษณะความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและการจำแนกชนิดของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ลักษณะความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย 6 ลักษณะ คือ ความไม่แน่นอนในอาการของโรค การหายของโรค การกำเริบของการรักษาโรค ความรู้เรื่องโรคและอนาคตของตนเอง มีระดับคะแนนความไม่แน่นอนอยู่ในระดับปานกลาง (X=69.57, SD=9.27) มีการปรับพฤติกรรมการเผชิญความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย คือ การดูแลตนเองในระยะสงบของโรค เมื่อมีการกำเริบของโรค การแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และพฤติกรรมการจัดการให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สรุปวิจารณ์ ควรมีการให้ข้อมูลความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัวแก่เด็กวัยรุ่นโรคเอส แอล อี รวมทั้งการจัดกิจกรรมการพยาบาลให้สอดคล้องเหมาะสมตามวุฒิภาวะ อายุ และความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของระดับความไม่แน่นอนและพฤติกรรมการเผชิญความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเจ็บป่วยด้วยโรคเอส แอล อี

Keywords: ความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย, พฤติกรรมการเผชิญความไม่แน่นอน, วัยรุ่น, โรคเอสแอลอี, การพยาบาลจิตเวช, พฤติกรรม, กิจกรรมการพยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา

Code: 000000065

ISSN/ISBN: 974-9627-39-3

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2546

Download: -