ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุพิศศรี รัตนสิน, มานิดา สิงหัษฐิต

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาประสิทธิภาพของยาริสเพอริโดนและโคลาซาปีนในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เมษายน 2541

รายละเอียด / Details:

ยากลุ่ม Serotonin Dopamine Antagonist เป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ที่มีคุณสมบัติปิดกั้นตัวรับซีโรโทนิน (serotonin) และโดปามีน (dopamine) ที่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย เช่น ยาริสเพอริโตน และยาโคลซาปีน มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทสามารถลดอาการบวก (posiltive symptoms) และอาการลบ (negative symptoms) และมีผลข้างเคียงของระบบเอกซ์ตร้าปิรามิดอล (extrapyramidal) ต่ำ การศึกษานี้มีรูปแบบการศึกษาแบบเปรียบเทียบและเป็นการศึกษาแบบเปิด มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน กลุ่มแรกใช้ยาริสเพอริโตน และกลุ่มที่สองใช้ยาโคลซาปีน ติดตามผลการรักษานาน 8 สัปดาห์โดยใช้เรื่องวัดแบบทดสอบ Positve and Negative Syndrome Scale (PANSS) วัดอาการทางจิตผู้ป่วยเพื่อประเมินประสิทธิภาพ (efficiency) ของยา และใช้แบบบันทึกอาการข้างเคียงของยา สัญญาณชีพ (vital sign) และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินความทน (tolerabillity) ต่อยา โดยบันทึกผลทุกสัปดาห์ ขนาดยาที่ใช้ปรับตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยให้ยาริสเพอริโดนตั้งแต่ 4-6 มิลลิกรัม/วัน ยาโคลซาปีนให้ตั้งแต่ 100-300 มิลลิกรัม/วัน ได้ผลดังนี้ กลุ่มที่ใช้ยาริสเพอริโดนมีคะแนน PANSS เฉลี่ยที่สัปดาห์ที่ 0 (baseline) คือ 136 (ช่วง 116-166) เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ปรากฎผลคะแนน PANSS เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็น 92.4 ,79.5 ตามลำดับที่ P‹0.05 ผู้ป่วย 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ในกลุ่มที่ใช้ยาริสเพอริโดน ตอบสนองต่อการรักษา (หลักเกณฑ์ประเมินใช้คะแนน PANSS ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ของคะแนน PANSS ที่สัปดาห์ที่ 0) กลุ่มที่ใช้ยาโคลซาปีนมีคะแนน PANSS เฉลี่ยที่สัปดาห์ที่ 0 คือ 135.1 (ช่วง 108-176) เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ปรากฎผลคะแนน PANSS เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็น 99.9 และ 88.6 ที่ p<0.05 ผู้ป่วย 8 รายคิดเป็นร้อยละ 80 ในกลุ่มที่ใช้ยาโคลซาปีนตอบสนองต่อการรักษา เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาทั้ง 2 ชนิดโดยวัดจากร้อยละ การลดลงของคะแนน PANSS ที่สัปดาห์ที่ 4 และ 8 เปรียบเทียบกับ baseline พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 อาการข้างเคียงที่พบ เช่นผู้ป่วยที่ใช้ยาริสเพอริโดนมีอาการเอกซ์ตร้าปิรามิดอล 3 ราย นอนไม่หลับ 2 ราย คัดจมูก 1 ราย และน้ำหนักตัวเพิ่ม 1 ราย ผู้ป่วยที่ใช้ยาโคลซาปีน มีอาการเอกซ์ตร้าปิรามิดอล 1 ราย คัดจมูก 1 ราย เหงื่อออกและน้ำลายไหล 1 ราย น้ำหนักตัวเพิ่ม 2 ราย

Keywords: antipsychotic drug, clozapine, drug, pharmacy, psychiatry, psychotic, risperidone, schizophrenia, จิตเภท, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, เภสัชกรรม, ยา, ยาต้านโรคจิต, โรคจิต, โรคจิตเภท

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 118410801002

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -