ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริพร ขัมภลิขิต, นิตยา ตากวิริยะนันท์

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดในบทบาทและอาการเครียดของอาจารย์พยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา/Source: วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 3-4 กรกฎาคม-ธันวาคม 2538, 1-19

รายละเอียด / Details:

อาจารย์พยาบาลมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด เนื่องจากมีบทบาทที่หลากหลายและมีภาระมาก ความเครียดอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยและส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในบทบาท การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดในบทบาทและอาการเครียดของอาจารย์พยาบาล ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสอง และปัจจัยที่สามารถทำนายอาการเครียดของอาจารย์พยาบาล ประชากรเป็นอาจารย์พยาบาลที่กำลังปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ทั่วไป มีจำนวน 178 คน เลือกโดยการสุ่มจากรายชื่อในแต่ละสถาบัน และกลุ่มอาจารย์ที่มีต่ำแหน่งบริหาร จำนวน 51 คน ซึ่งนำมาศึกษาโดยไม่มีการสุ่มเลือกเนื่องจากมีจำนวนน้อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความเครียดในบทบาทอาจารย์พยาบาล และแบบสอบถามอาการเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป เอสพีเอสเอส-พีซีบวก (SPSS-PC+) ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ทั่วไปและผู้บริหารรับรู้ความเครียดในบทบาทด้านต่างๆ ของอาจารย์พยาบาลในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ (possible range = 1-10, x?SD = 3.42-5.41?1.59-2.07 และ = 3.39-5.37?1.39-1.84 ตามลำดับ) ทั้ง 2 กลุ่ม มีอาการเครียดเกิดขึ้นจำนวนค่อนข้างมาก ขณะที่มีความถี่ของการเกิดอาการเครียดค่อนข้างต่ำคือเฉลี่ยเดือนละ 1-3 ครั้ง หรือน้อยกว่า และใน 10 อาการแรกที่มีความถี่ของการเกิดอาการสูงสุดทั้ง 2 กลุ่มมีอาการที่เหมือนกันอยู่ 8 อาการ โดยที่อาการปวดหลังหรือปวดเมื่อยเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดและอาการเครียดพบว่าการรับรู้ความเครียดในบทบาทอาจารย์พยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับอาการเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในกลุ่มอาจารย์ทั่วไป (r=0.34, p‹ .001) และกลุ่มผู้บริหาร (r=0.41, p< .01) โดยที่การรับรู้ความเครียดในบทบาทด้านการวิจัยหรือวิชาการเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายอาการเครียดในกลุ่มอาจารย์ทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=18.02, p= .000) ขณะที่การรับรู้ความเครียดในบทบาทด้านการบริหาร เป็นปัจจัยเดียวทีสามารถทำนายอาการเครียดในกลุ่มผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=6.59, p = .01) ผลการศึกษาให้แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้และการศึกษาวิจัยต่อไป

Keywords: nurse, mental health, psychology, stress, ความเครียด, เครียด, พยาบาล, อาจารย์พยาบาล, จิตวิทยา, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2538

Address: ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Code: 126381503008

ISSN/ISBN: 0125-8958

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -