ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วันลาภ เหรียญโมรา

ชื่อเรื่อง/Title: ความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเวชของพยาบาล โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา/Source: วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 3-4 กรกฎาคม-ธันวาคม 2538, 42-51

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดของพยาบาล โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลเทคนิค ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยจิตเวชระยะฟื้นฟู โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จำนวน 100 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสำรวจความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลที่มีการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์ (หลักสูตร 2 ปี) ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับ การทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48 ส่วนพยาบาลที่มีการศึกษาระดับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย (เทียบเท่าปริญญาตรี) ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 42 2. พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช 1-3 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 46 พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช 4-6 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38 พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช 7-9 ปี ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40 และพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช 10 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 45 3. พยาบาลที่เคยรับการอบรมสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวชส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด ระดับปานกลาง และระดับดี คิดเป็นร้อยละ 39 และ 24 ตามลำดับ ส่วนพยาบาลที่ไม่เคยได้รับการอบรมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดระดับปานกลาง และต้องปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ 48 และ 28 ตามลำดับ 4. ความรู้ของพยาบาลในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด ในด้านความรู้ทั่วไป ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ 36 ในด้านการประเมินสภาพผู้ป่วยเพื่อการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 61 ในด้านการวางแผน การทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 46 ในด้านการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 30 และในด้านการประเมินผลกลุ่มกิจกรรมบำบัด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 56

Keywords: group therapy, nurse, psychiatric nursing, psychiatric patient, psychiatry, rehabilitation, กลุ่ม, ผู้ป่วยใน, กิจกรรมกลุ่ม, การพยาบาล, พยาบาลจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวช, จิตเวช, พยาบาล, ฟื้นฟูสมรรถภาพ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2538

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 126381503010

ISSN/ISBN: 0125-8958

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -