ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ิเสงี่ยม สารบัณฑิตกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, วัชนี หัตถพนม, นวลจันทร์ มาตยภูธร

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาการหลบหนีของผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 3, 24-26 สิงหาคม 2537

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง(Retrospective Study)โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการหลบหนีของผู้ป่วยรวมทั้งกิจกรรมการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการหลบหนีของผู้ป่วย โดยศึกษาจากผู้ป่วยจิตเวชที่หลบหนีออกจากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นได้สำเร็จ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2534 ถึง 31 ธันวาคม 2534 รวมทั้งสิ้น 186 รายผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ ผู้ป่วยที่หลบหนีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 85.48 มีสถานภาพสมรสโสดร้อยละ 67.20 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 66.67 อาชีพทำนาทำไร่ ร้อยละ 61.83 ช่วงอายุ 21 – 40 ปี ร้อยละ 71.51 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 31.72 ไม่มีประวัติเสพสารเสพติดมาก่อน ร้อยละ 68.28 เข้ารับการรักษาเป็นครั้งแรก ร้อยละ 39.78 ด้วยโรคจิตเภท ร้อยละ 69.89 มีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 58.60 ไม่มีประวัติพยายามหลบหนีมาก่อนร้อยละ 54.84 มีความคิดอยากกลับบ้าน ร้อยละ 66.13 ไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ร้อยละ 82.26 หลบหนีในช่วงรอญาติมาพบตามวันนัด ร้อยละ 53.76 จำนวนวันที่อยู่โรงพยาบาลก่อนหลบหนีอยู่ระหว่าง 8-14 วัน ร้อยละ 29.57 จำนวนครั้งที่หลบหนีสำเร็จ คือครั้งแรก ร้อยละ 56.98 รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการหลบหนี พบว่า ผู้ป่วยหลบหนีในขณะอยู่รักษาที่หอผู้ป่วยโนรีมากที่สุด ร้อยละ 34.41 วันหลบหนีไม่ใช่วันย้ายผู้ป่วย ร้อยละ 93.55 อาการของผู้ป่วยที่หลบหนีทุเลามากใกล้กลับบ้าน ร้อยละ 71.51 ไม่ทราบช่องทางหลบหนีที่ชัดเจน ร้อยละ 62.90 หลบหนีในวันพุธ ร้อยละ 22.58 ในเวรเช้าร้อยละ 75.27 ในช่วงเวลา 14.01 – 15.00น. ร้อยละ 16.13 สำหรับกิจกรรมการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการหลบหนีพบว่าเจ้าหน้าที่ได้อธิบายขั้นตอนการกลับบ้าน ร้อยละ 60.22 ไม่มีคำสั่งการพยาบาลระวังหลบหนี ร้อยละ54.84 และให้การพยาบาลผู้ป่วยที่หลบหนีเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วๆไป ร้อยละ54.84 การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ภายหลังผู้ป่วยหลบหนีได้สำเร็จพบว่าญาติไม่มาติดต่อรอ 7 วัน จึงจำหน่ายผู้ป่วย ร้อยละ 59.14 เขียนใบรายงานการหลบหนี ร้อยละ 93.55 และบันทึกในใบบันทึกทางการพยาบาลร้อยละ 74.73 จากผลการวิจัยที่ได้รับ ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพื่อป้องกันการหลบหนีต่อไป

Keywords: nurse, psychiatric nursing, psychiatry, การพยาบาลจิตเวช, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยหลบหนี, พยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200370003003

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -