ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นพ.ปราญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ นพ.บุญชัย รวมงคลวัฒนา นพ.สมชาย ตันศิริสิทธิกุลและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาบริการผู้ป่วยใน กรณีศึกษาโรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 12 แห่ง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 3, 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 329-330.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล โรงพยาบาลจิตเวชเป็นหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลบำบัดรักษา ตลอดจนส่งเสริมฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางจิตรุนแรงจะถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาล จากสถิติจะพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคจิตและปัญหาการฆ่าตัวตายมีจำนวนสูงขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวกรมสุขภาพจิตจึงได้ขยายบริการเพื่อให้ครอบคลุมประชากรมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันโรงพยาบาลจิตเวชได้ถูกจัดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลจิตเวช ควรมีระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานหรือมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ก่อให้เกิดประสิทธิผล (Effectiveness) สูงสุด โดยผู้ป่วยทุกคนได้รับบริการด้วยความเสมอภาค (Equity) ซึ่งควรยึดหลักการดูแลรักษาให้ผู้ป่วยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแต่ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด(Economics) วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 12 แห่ง สรุปผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 66.8 อายุเฉลี่ย 38.24 ปี (S.D=14.78) ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 30-39 ปี ร้อยละ 27.7 ส่วนช่วงอายุที่พบน้อยที่สุดคือต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 3.9 ผู้ปวยส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 59.4 ฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวพบว่าผู้ป่วยพอมีพอกิน ไม่มีหนี้สินมากที่สุด ร้อยละ 34.3 มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 47.3 อาชีพพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ว่างงานร้อยละ 51.2 ในภาพรวมของโรงพยาบาลจิตเวชทั้ง 12 แห่ง พบว่า กลุ่มโรคที่พบมากที่สุด คือ Schizophrenia, schizotypal and delusional disorder ร้อยละ 68.66 ผู้ป่วยจิตเวชเคยมีประวัติการใช้สารเสพติดร้อยละ 49.5 สาเหตุของการไม่ได้จำหน่ายผู้ป่วยเมื่อสิ้นสุดการศึกษามากที่สุดคือ อาการยังไม่ดีขึ้น ร้อยละ 37.0 พบอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 0.15 อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 2.21 อัตราการหลบหนีและพยายามหลบหนี ร้อยละ 0.66 อัตราการส่งต่อไปรับการรักษาฝ่ายกาย ร้อยละ 0.94 ผ็ปวยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 17,315.31 บาท ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 352,740.3 ค่ามัธยฐานเท่ากับ 6,194.00 บาทและฐานนิยมเท่ากับ 3,620.00 และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสิทธิบัตรในการรักษา ร้อยละ 62.3 ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาในครั้งนี้จะทำให้ทราบลักษณะสำคัญของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทั้ง 12 แห่ง ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปวางแผนในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิตให้มีคุณภาพ มาตรฐาน ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้ป่วยทุกคนได้รับการบริการด้วยความเสมอภาค

Keywords: บริการผู้ป่วยใน, บริการจิตเวช, บริการสุขภาพจิต, กรณีศึกษา, โรงพยาบาลจิตเวช, กรมสุขภาพจิต, HA, service, psychiatry, psychiatric services, mental health services

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

Code: 20040000120

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2547

Download: -