ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวิมล สนั่นชาติวณิช และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การติดตามผลการบำบัดค่ายเยาวชนต้นกล้า อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 3, 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 351.

รายละเอียด / Details:

สถานการณ์ระบาดยาเสพติดของอำเภอห้วยยอดเริ่มชัดเจนตั้งแต่ปี 2544 จากการสำรวจหมู่บ้านที่ไม่ปลอดยาเสพติด พบ 40.6% ปี 2545 เพิ่มเป็น 75.8% แต่มีผู้เข้ารับการบำบัดน้อยเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสงครามกับยาเสพติดปี 2546 มีผู้แสดงตนเข้ารับการบำบัดยาเสพติด 468 คน ซึ่งการระบาดของยาเสพติดอยู่ในระดับรุนแรงปานกลางเมื่อเทียบกับประชากร คือ 5.27 ต่อ 1,000 คน อำเภอห้วยยอด หน่วยงานสาธารณสุขมหาดไทย และตำรวจร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยจัดค่ายบำบัดฟื้นฟูเยาวชนต้นกล้าในกลุ่มเสพ 413 คนเป็นยาบ้า 85.23% รองลงมาเป็นกัญชา 9.44% และอื่นๆ หลักสูตรบำบัดใช้เวลา 9 วัน/รุ่น จำนวน 4 รุ่น ได้ติดตามผลโดยใช้กิจกรรมปัญญาสังคมเป็นวลา 1ปี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับการบำบัดก่อนสิ้นสุดการติดตาม โดยค้นหาปัญหาการใช้สารเสพติดซ้ำและสารเสพติดทดแทน อาชีพและการว่างงานเพื่อนำไปวางแผนแก้ไขโดยติดตามเป็นเวลา 1ปี การศึกษาในเชิงพรรณาในกลุ่มผู้รับการบำบัดติดตาม 300 คนระยะเดือนที่ 8 ตัวแปรต้นคือหลักสูตรค่ายเยาวชนต้นกล้า Modified Matrix กิจกรรมบำบัดปัญญาสังคม ตัวแปรตามคือ พฤติกรรมที่เหมาะสม และพึงประสงค์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เก็บข้อมูลจากแบบประเมินการติดตาม แบบประเมินครอบครัว โดยวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นร้อยละ และ x ผลการศึกษาหลังการบำบัดผู้เสพไม่กลับไปใช้ยาเสพติด 96.6% ยาเสพติดที่ใช้ซ้ำ คือกัญชาและกระท่อมร้อยละ 3.05,0.35 ที่ใช้ทดแทนคือบุหรี่ สุรา ความคาดหวังของครอบครัวต่อการเลิกบุหรี่ และสุราในผู้ที่ใช้หลังการบำบัด ร้อยละ 65.59 มีอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ 98.22% ความรับผิดชอบต่อตนเองและอาชีพ ความมีวินัยดี (x=4.1,4.09) สามารถเผชิญกับปัญหาและการแก้ไขมีสติในการกระทำ มีการตัดสินใจด้วยเหตุผลในเรื่องต่างๆ ได้ดีและถูกต้อง (x=3.7,4.1,3.9) ผู้ที่ผ่านการบำบัดและได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องมีพฤติกรรมไม่ใช้ยาเสพติด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกล่าวคือการดำเนินชีวิต กล่าวคือมีความรับผิดชอบ รู้บทบาทหน้าที่ต่อตนเองและครอบครัวสามารถควบคุมภาวะทางอารมณ์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เหมาะสม เกิดการรับรู้คุณค่าของตนเอง มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต พฤติกรรมที่ใช้สารเสพติดทดแทน การกลับไปเสพซ้ำการใช้สารเสพติดเพื่อการประกอบอาชีพผู้รับการบำบัดมองเห็นผลกระทบต่อตนเองน้อย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้การบำบัดโดยค้นหาปัญหาร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกันแก้ไขให้ความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางในการประกอบอาชีพที่ไม่ต้องใช้สารเสพติด ข้อเสนอแนะ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือการป้องกันยาเสพติดนั้นควรมีการบูรณาการร่วมกันทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และครอบครัวของผู้เสพยา สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาการเสพซ้ำ ชุมชนบทบาทในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ผ่านการบำบัดให้แสดงบทบาทการพัฒนาตนเองและร่วมกันป้องกันชุมชนให้มีความเข้มแข็งปลอดภัยจากยาเสพติด

Keywords: ค่ายเยาวชนต้นกล้า, ค่ายยาเสพติด, ค่ายเยาวชน, ค่าย, เยาวชน, ห้วยยอด, ตรัง, ยาเสพติด, สารเสพติด, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, พฤติกรรม, กิจกรรมบำบัดปัญญาสังคม, drug abuse, substance dependence

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: โรงพยาบาลห้วยยอด

Code: 20040000126

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2547

Download: -