ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วันทนา ทิพย์มณเฑียร

ชื่อเรื่อง/Title: การปฏิบัติงานของครูในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 3, 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 364.

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานของครูในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน ความรู้เรื่องการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเจตคติของครูต่อนักเรียนที่มีปัญหายาเสพติด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 321 คน สุ่มจากจำนวนประชากร 1,635 คน แบ่งตามโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามวัดความรู้เรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบวัดเจตคติของครูต่อนักเรียนที่มีปัญหายาเสพติดและแบบวัดระดับการปฏิบัติงานของครูในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยวเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบ (F-test) และทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่(Scheffe'Mothod) ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับการปฏิบัติงานของครูในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกาษ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับการปฏิบัติงานของครูในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิจารณาตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา และความรู้เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดต่างกัน มีระดับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3. ระดับการปฏิบัติงานของครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันพบว่า การปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่า ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง และครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานแตกต่างกัน 4. ระดับการปฏิบัติงานของครูที่เจตคติต่อนักเรียนที่มีปัญหายาเสพติดต่างกันพบว่า การปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายคู่พบว่า ครูที่มีเจตคติต่อนักเรียนที่มีปัญหายาเสพติดดีและปานกลาง มีระดับการปฏิบัติงานแตกต่างกันกับครูที่มีเจตคติต่อนักเรียนที่มีปัญาหายาเสพติดไม่ดี จากผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า โดยภาพรวมระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลางและพบว่า การปฏิบัติงานของครูที่มีขนาดของโรงเรียนต่างกัน เจตคติของครูต่อนักเรียนต่างกันมีผลต่อการปฏิบัติงานต่างกัน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาอื่นๆ ในโรงเรียนเพื่อส่งผลถึงนักเรียนต่อไป

Keywords: ยาเสพติด, สารเสพติด, ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน, เจตคติ, จิตวิทยา, นักเรียน, drug abuse, substance dependence

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: คลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต

Code: 20040000127

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2547

Download: -