ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รุ่งทิวา บุพพันเหรัญ

ชื่อเรื่อง/Title: สถานการณ์ระบาดวิทยาผู้ป่วยออทิสติกที่มารับบริการ ณ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พ.ศ. 2543-2546.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 3, 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 374.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เป็นสถาบันฯ เฉพาะทางในการให้บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จึงควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลผู้มารับบริการในด้านต่างๆ ให้มีความชัดเจนด้านสถานการณ์ทางระบาดวิทยา ทั้งนี้ เพื่อประเมินคุณภาพการจัดเก็บข้อมูลให้สมบูรณ์และครบถ้วน ทั้งยังสะดวกในการนำไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วย วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสถานการณ์ด้านระบาดวิทยาของผู้ป่วยออทิสติกที่มารับบริการ ณ สถาบันฯ 2. พัฒนาการจัดเก็บฐานข้อมูลผู้ป่วยออทิสติกให้สมบูรณ์และครบถ้วน ขอบเขตการศึกษา ผู้ป่วยออทิสติกที่มารับบริการ ณ สถาบันฯ ระหว่างปีงบประมาณ 2543-2546 การเก็บรวบรวมข้อมูล แฟ้มประวัติ/แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยออทิสติก การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยออทิสติกที่มารับบริการ ณ สถาบันฯ ปีงปบระมาณ2543 ถึง 2546 ร้อยละ 98 มีที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ รายได้ครอบครัว ไม่มั่นคง ผู้ป่วยออทิสติกคิดเป็นร้อยละ 19-29 ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด แต่มีเพียงร้อยละ 10-12 ของผู้ป่วยออทิสติกทั้งหมดที่มารับบริการฝึกกระตุ้นพัฒนาการ ณ สถาบันฯ ผู้ป่วยออทิสติกอายุระหว่าง 5-9 ปี ส่วนผู้ป่วยที่มาฝึกกระตุ้นพัฒนาการอายุระหว่าง 2-6 ปี (เฉลี่ยอายุ 3 ปี) เป็นสัดส่วนชายต่อหญิง 4:1 การฝึกกระตุ้นพัฒนาการแบบผู้ปกครองร่วมรักษา ผู้มาฝึกพัฒนาการร่วมกับเด็กส่วนใหญ่ คือ แม่ รองลงคือพี่เลี้ยงและยายตามลำดับ ปัญหาเด็กออทิสติกที่มาฝึกกระตุ้นพัฒนาการคือ ไม่พูด ไม่สบตา และซนไม่อยู่นิ่ง การแบ่งกลุ่มของเด็กเพื่อฝึกพัฒนาการโดยใช้การประเมินภาวะออทิสติก 3 รูปแบบ โดยใช้คะแนนเป็นตัวชี้วัด ได้แก่กลุ่มที่มีอาการรุนแรง (>37-60 คะแนน) กลุ่มที่มีอาการปานกลาง (>33-37) และกลุ่มที่มีอาการน้อย 30-33 คะแนน ผลการกระตุ้นพัฒนาการ พบว่า กลุ่มที่มีอาการน้อยและกลุ่มที่มีอาการปานกลาง ใช่เวลาฝึก 6 เดือน - 1 ปี จะสบตาได้ ยิ้มแย้มขึ้น เรียกชื่อหันหน้าตามเสียงเรียก พูดเป็นคำที่มีความหมายได้ตั้งแต่ 2-3 คำ ถึง 2 ประโยคสั้นๆ เล่นกับเพื่อนบางครั้ง ฟังและทำตามคำสั่งสั้นๆ ได้ดีขึ้น พอจะช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ถอดเสื้อ ใส่กางเกง และทำตามคำสั่งพร้อมคนอื่นได้บางครั้ง ส่วนอาการซนและไม่อยู่นิ่ง ยังคงอยู่ ส่วนกลุ่มอาการรุนแรงใช้เวลานานกว่าจึงจะมีพัฒนาการบางด้านดีขึ้น และมีพัฒนาการด้านต่างๆ ต่ำกว่า อายุจริง 2 ปี ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าพัฒนาการด้านอารมณ์ค่อนข้างแกว่ง หงุดหงิด โมโหง่าย และไม่ต่างกันในการทำร้ายตนเอง เช่น ดึงผมตนเอง ใช้หัวโขกแต่ไม่ทำร้ายผู้อื่น และพฤติกรรมแปลกคล้ายกันคือ ปิด-เปิดไฟ จ้องพัดลม หมุนตัว และเขย่งปลายเท้าตามลำดับ และชอบดู TV ได้นานๆ เหมือนกัน

Keywords: จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: ศูนย์ข้อมูลและวิจัย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

Code: 20040000134

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2547

Download: -