ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ทพ.ชัยพร ยิ่งเจริญพาสุข

ชื่อเรื่อง/Title: ความสัมพันธ์ระหว่างยาต้านโรคจิตกับอัตราการหลั่งน้ำลายในผู้ป่วยจิตเภท

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 3, 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 378-379.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยจิตเภทคือบุคคลที่มีการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตัวเองลดลง ทำให้มีความยากลำบากในการดูแลรักษาทันตสุขภาพ ผลที่ตามมาทำให้ผู้ป่วยจิตเภทมีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้ผู้ป่วยโรคจิตมีปัญหาทางทันตกรรมมากกว่าปกติ คือ ระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มโรค ความกลัวการทำฟัน ปัญหาเศรษฐกิจฐานะ และที่สำคัญมีหลักฐานที่ชี้ชัดว่าการใช้ยาบำบัดทางจิตเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชมีปัญหาทางทันตกรรม โดยพบว่าการใช้ยาทางจิตเวช ได้แก่ ยาต้านอาการโรคจิต ยาต้านอารมณ์ซึมเศร้า ยาคลายกังวลหรือยาต้านอาการพาร์คินสัน พบว่าฤทธิ์ข้างเคียงของยาเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดภาวะปากแห้ง (Xerostomia) การหลั่งน้ำลายลดน้อยลง (Hyposalivation) ซึ่งการที่น้ำลายลดลงในระยะยาวเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ โดยลดกลไกการทำความสะอาดของน้ำลายทำให้แบคทีเรียเกาะติดฟัน เกิดการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) จึงทำให้ผู้ป่วยจิตเวชมีปัญหาและมีความจำเป็นต้องรักษาทางทันตกรรมในปริมาณสูงกว่าประชาชนทั่วไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของยาต้านอาการโรคจิตต่ออัตราการหลั่งน้ำลายแบบไม่กระตุ้นในผู้ป่วยจิตเภท สรุปผลการวิจัย กลุ่มทดลองจำนวน 53 รายเป็นเพศชายร้อยละ 84.9 มีอายุระหว่าง 20-39 ปี มากที่สุด ร้อยละ 85.0 อายุเฉลี่ย 31.47 ได้รับยา chlorpromazine 100 mg/day ร้อยละ 63.5 และ 50 mg/day ร้อยละ 32.7 ได้รับยา haloperidal 20 mg/day ร้อยละ 46.2 และ 15 mg/day ร้อยละ 42.3 อัตราการหลั่งน้ำลายสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 ได้แก่ 0.22752, 0.321594 และ 0.350772 ตามลำดับ กลุ่มควบคุมจำนวน 101 รายเป็นเพศชายร้อยละ 66.3 มีอายุระหว่าง 30-49 ปี มากที่สุด ร้อยละ 71.3 อายุเฉลี่ย 40.13 ปี อัตราการหลั่งน้ำลายเฉลี่ยเท่ากับ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอัตราการหลั่งน้ำลายสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 ในกลุ่มทดลองกับอัตราการหลั่งน้ำลายเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมพบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.000) เมื่อจัดแบ่งอัตราการหลั่งน้ำลายเป็นกลุ่มและนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการหลั่งน้ำลายในระดับ ‹0.16ml/min OR=13.23 (95%CI=4.15-44.26) P-value = 0.00 และอัตรการหลั่งน้ำลายในระดับ 0.17-0.30 ml/min OR=2.29 (95% CI=1.21-7.26), P-va;ue =0.01 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการหลั่งน้ำลายที่ระดับ 0.30-0.65 ml/min

Keywords: ยาต้านโรคจิต, ผู้ป่วยจิตเภท, จิตเภท, อัตราการหลั่งน้ำลาย, น้ำลาย, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ผู้ป่วยโรคจิต, ยารักษาโรคจิต, antipsychotic drug, schizophrenia, patient, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต

Code: 20040000138

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2547

Download: -