ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จรรยา ธัญญาดี, ชินานาฏ จิตตารมย์

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาภาวะหูแว่วในผู้ป่วยโรคจิตเภทในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 3, 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 387

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ความผิดปกติของการรับรู้ในผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ หูแว่ว โดยพบร้อยละ 75 ของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการประสาทหลอนชนิดหูแว่วจะทำให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ และมีความทุกข์ทรมาน วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อศึกษาภาวะหูแว่ว ผลกระทบ และวิธีจัดการกับภาวะหูแว่วของผู้ป่วยโรคจิตเภท ขอบเขตการวิจัย เป็นการวิจัยแบบสำรวจ (Survey design) ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะหูแว่วที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระเบียบวิธีวิจัยขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะหูแว่วที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ที่มีอายุตั้งแต่ 18-60 ปี จำนวน 212 คน การสุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาวะหูแว่ว และแบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการภาวะหูแว่ว การวิเคราะห์ข้อมูล แจกแจง ความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหูแว่วในช่วงอายุ 21-30 ปี ร้อยละ 51.4 ตำแหน่งของเสียงที่ได้ยินอยู่นอกร่างกาย ร้อยละ 60.8 ได้ยินจำนวน 1 เสียง ร้อยละ 64.7 เป็นเสียงของบุคคล ร้อยละ 82.1 เป็นเสียงของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ร้อยละ 60.8 ได้ยินจำนวน 1 ภาษา ร้อยละ 87.3 ได้ยิน เป็นภาษาไทย ร้อยละ 92.5 เนื้อหาที่ได้ยินเป็นไปในทางลบ ร้อยละ 43.4 ได้ยินเสียง 1-5 ครั้ง ต่อวัน ร้อยละ 63.3 ได้ยินเสียงชัดเจน ร้อยละ 71.2 มีความดังของเสียงในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.9 ได้ยินเสียงในช่วงเวลากลางวัน ร้อยละ 34.0 ไม่มีเหตุการณ์นำก่อนได้ยินเสียง ร้อยละ 74.5 มีความรู้สึกในทางลบเมื่อได้ยินเสียงร้อยละ 69.3 เสียงที่ได้ยินมีผลต่อพฤติกรรม ร้อยละ 35.4 ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 81.1 วิธีจัดการอาการหูแว่วที่นำมาใช้มากที่สุด คือ การควบคุมตนเอง ร้อยละ 50.0 รองลงมาคือ การทำสมาธิ ร้อยละ 35.4 ดูโทรทัศน์ ร้อยละ 33.5 และพูดคุยกับผู้อื่น ร้อยละ 30.7

Keywords: จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต

Code: 20040000143

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2547

Download: -