ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อุษา ปั้นบุญมี

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความเครียดของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7, 1-3 กันยายน 2542 , ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี, หน้า 7-8.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความเครียดของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่รับไว้รักษาโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 และเปรียบเทียบความเครียดของผู้ป่วยตามตัวแปรศึกษาเกี่ยวกับ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ บทบาทในครอบครัว จำนวนผู้อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวนครั้งที่มาพักรักษา ตำแหน่งที่บาดเจ็บ จำนวนตำแหน่งที่บาดเจ็บ โดยคาดหวังว่าความเครียดของผู้ป่วยจะแตกต่างกันตามตัวแปรดังกล่าว กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุที่รับไว้รักษา จำนวน 100 คน ในช่วง 1 มกราคม-28 กุมภาพันธ์ 2541 โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความเครียดของผู้ป่วยตามตัวแปรที่ศึกษา โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้ คอมพิวเตอร์โปรแกรมSPSS/PC ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่17มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย 2. เปรียบเทียบความเครียดของผู้ป่วยอุบัติเหตุตามตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ อายุ ตำแหน่งบาดเจ็บที่ศีรษะ ตำแหน่งบาดเจ็บที่มือ ตำแหน่งบาดเจ็บที่แขน ตำแหน่งบาดเจ็บที่เท้า จำนวนตำแหน่งที่บาดเจ็บ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01, 0.05, 0.005 ตามลำดับ 2.1 ผู้ป่วยกลุ่มอายุ 20-29 ปี และ 40-49 ปี มีความเครียดมากกว่า ผู้ป่วยอายุ 50 ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 2.2 ผู้ป่วยที่มีตำแหน่งบาดเจ็บที่ศีรษะ มีความเครียดมากกว่าผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 2.3 ผู้ป่วยที่มีตำแหน่งบาดเจ็บที่มือ มีความเครียดมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีการบาดเจ็บที่มือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 2.4 ผู้ป่วยที่มีตำแหน่งบาดเจ็บที่แขน มีความเครียดมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีการบาดเจ็บที่แขน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2.5 ผู้ป่วยที่มีตำแหน่งบาดเจ็บที่เท้า มีความเครียดมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีความบาดเจ็บที่เท้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 2.6 ผู้ป่วยที่มีจำนวนตำแหน่งที่บาดเจ็บ 3 แห่งขึ้นไปมีความเครียดมากกว่า บาดเจ็บ 1-2 แห่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.005 จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือพยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของผู้ป่วย เพื่อที่จะช่วยผ่อนคลายความเครียด และส่งเสริมให้ใช้พฤติกรรมการเผชิญภาวะเครียดที่เหมาะสม

Keywords: ความเครียด, อุบัติเหตุ, ผู้ป่วยอุบัติเหตุ, สุขภาพจิต, เครียด, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี

Code: 20040000200

ISSN/ISBN: 974-291-983-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -