ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวคนธ์ แก้วอ่อน และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการใช้กระบวนการกลุ่มในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มะเร็งระบบโลหิตที่ได้รับเคมีบำบัดในโรงพยาบาลขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7, 1-3 กันยายน 2542 , ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี, หน้า 374-375.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยศึกษาผลการใช้กระบวนการกลุ่มต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดชนิดฉีดที่คลินิกโรคเลือด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 ถึงเดือน ธันวาคม 2541 จำนวน 36 ราย ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทำการสุ่มเข้าสู่กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 18 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 18 ราย กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกระบวนการกลุ่ม โดยคณะผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม ครบ 3 ครั้ง พร้อมแจกคู่มือ การดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับเคมีบำบัด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับคำแนะนำตามปกติจากเจ้าหน้าที่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสองกลุ่ม จะเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 1 (Pre-test) และหลังจากนั้นอีก 4 เดือน จะเก็บรวบรวมข้อมูล (Post-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองก่อนการทดลองระหว่าง กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ (X=28.5,SD=5.38 และ X=25.3, SD 7.96; t =1.34, P=0.199) ส่วนคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (X=173.27, SD=26.44 และ X=163.72, SD=36.77; t =1.00, p=.333) 2.คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X=35.61, SD=5.21 และ X=29.11, SD=5.75; t=4.56 p=0.000) และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X=184.00, SD=21.10 และ X=158.85, SD=114.67; t=1.71,p=0.105) 3.คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองก่อนการทดลองและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X=28.25, SD=5.37 และ X=35.611, SD=5.21; t=3.95, p=0.001)คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อนการทดลองและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (X=173.27, SD=26.44 และ X=1184.00, SD=21.10,t=1.71,p=0.105) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการกลุ่มมีผลต่อความสามารถในการดูแลตนเองแต่ไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่รับเคมีบำบัด ดังนั้นการให้คำจำกัดความและการวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ควรได้รับการศึกษาให้เข้าใจ คณะผู้วิจัยเสนอแนะว่ากระบวนการกลุ่มมาใช้นั้นควรจะเข้าใจวิธีดำเนินการของกระบวนการทั้งจากทฤษฎีและปฏิบัติ ในการปฏิบัตินั้นควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Keywords: กระบวนการกลุ่ม, คุณภาพชีวิต, มะเร็ง, เคมีบำบัด, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, กลุ่มบำบัด, กิจกรรมบำบัด, การพยาบาลจิตเวช, การพยาบาล, กิจกรรมพยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลขอนแก่น

Code: 20040000213

ISSN/ISBN: 974-291-983-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -