ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อมรรัตน์ เบญจางคประเสริญและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดของพยาบาลโรงพยาบาลเบตง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7, 1-3 กันยายน 2542 , ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี, หน้า 384-385.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเครียดของพยาบาลโรงพยาบาลเบตง ที่มีปัจจัยต่างกัน ในด้านอายุ สถานภาพสมรส ภูมิลำเนา ลักษณะครอบครัว ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน แผนกที่ปฏิบัติงาน ช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน รายได้อื่นนอกจากเงินเดือน ความเพียงพอของรายได้กับค่าใช้จ่าย ภาระครอบครัว ความกังวลใจเป็นทุกข์ต่อภาระครอบครัว ในด้านการเงินหรืการเลี้ยงดู และปัญหากับผู้ร่วมงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่กำลังปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเบตง จำนวน 127 คน จากจำนวน 151 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูลทั่วไปของพยาบาล ส่วนที่ 2 เป็นแบบวัดระดับความเครียดที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ปรับปรุงมาจากแบบสอบถาม S.C.L.90 ของ เลี่ยวนาร์ด อาร์ เดอร์โร กาลิโอ และรีนัลด์ เอส ลิพแมน ลิโนโคไว ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเครียดโดยใช้สถิติอ้างอิง Independent t-test, F-test ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปี สถานภาพสมรสโสด ภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเบตง การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เป็นพยาบาลวิชาชีพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-5 ปี แผนกสูติ-นรีเวชกรรม อยู่เวรเช้า บ่าย ดึก รายได้ระหว่าง 6,001-9,000 บาท และมีความเครียดอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด การเปรียบเทียบความแตกต่างของความเครียดระหว่างพยาบาลที่มีปัจจัยต่างกันพบว่า 1. พยาบาลที่มีอายุ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน แผนกที่ปฏิบัติงานช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ ปัญหากับผู้ร่วมงานแตกต่างกัน มีระดับความเครียดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P‹.05 2. พยาบาลที่มีสถานภาพ ภูมิลำเนา ลักษณะครอบครัว รายได้อื่นนอกจากเงินเดือน ความเพียงพอของรายได้กับค่าใช้จ่าย ภาระครอบครัว ความกังวลใจเป็นทุกข์ต่อภาระครอบครัวในด้านการเงินหรือการเลี้ยงดูแตกต่างกัน มีระดับความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.05

Keywords: ความเครียด, พยาบาล, ครอบครัว, จิตวิทยา, ภาวะเครียด, ความเครียดของพยาบาล, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, โรงพยาบาลเบตง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลเบตง

Code: 20040000217

ISSN/ISBN: 974-291-983-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -