ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ความชุกของโรคทางจิตในประเทศไทย: การสำรวจระดับชาติ

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 17, ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร, 19-21 พฤษภาคม 2547, หน้า 35-36

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ประเทศไทยยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับขนาดของปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยเฉพาะ ความชุกของโรคจิตเวช กรมสุขภาพจิตร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภาคมหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมกันดำเนินการสำรวจในปี 2546 เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายตามเพศและกลุ่มอายุของโรคจิตเวชที่สำคัญในประชากรไทย วิธีการศึกษา เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวาง 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคัดกรองด้วยแบบคัดกรองโรคจิตเวชในชุมชนและแบบประเมิน AUDIT ขั้นตอนที่สองประเมินด้วย M.I.N.I กลุ่มตัวอย่าง 11,700 คน อายุ 15-59 ปี ซึ่งได้จากการสุ่มแบบ Stratified three-stage cluster sampling จากประชากร 4 ภาค ของประเทศไทย ส่วนกรุงเทพฯ สุ่มแบบ Two-stage cluster sampling ผลการศึกษา ความชุกของโรคจิตเวชเนื่องจากแอลกอฮอล์ร้อยละ 28.52 (เพศชายร้อยละ 46.08 เพศหญิง ร้อยละ 9.96) โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) ร้อยละ 3.2 (เพศชายร้อยละ 2.47 เพศหญิงร้อยละ 3.98) โรควิตกกังวลทั่วไปร้อยละ 1.85 (เพศชายร้อยละ 1.37 เพศหญิงร้อยละ 2.35) โรคจิต (Psychotic disorders) ร้อยละ 1.76 (เพศชายร้อยละ 1.75 เพศหญิงร้อยละ 1.77) โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia disorder) ร้อยละ 1.18 (เพศชายร้อยละ 0.77 เพศหญิงร้อยละ 1.61) โรคอะโกราโฟเบีย ร้อยละ 0.89 (เพศชายร้อยละ 0.66 เพศหญิงร้อยละ 1.05) โรคอารมณ์แปรปรวน (Menia) ร้อยละ 0.65 (เพศชายร้อยละ 0.56 เพศหญิงร้อยละ 0.74) สรุป ความเจ็บป่วยทางจิตเนื่องจากแอลกอฮอล์ในผู้ชายและโรคซึมเศร้า เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีความชุกสูง ควรจัดเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการแก้ไขเป็นลำดับต้นๆ

Keywords: ความชุก, ระบาดวิทยา, โรคทางจิต, โรคจิตเวช, จิตเวช, แบบคัดกรองโรคจิต, ความชุกของโรคจิตเวช, mental disorders, survey, prevalence, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: กรมสุขภาพจิต

Code: 20040000229

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -