ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุณี วงศ์คงคาเทพ

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลการใช้ตัววัดคะแนนการบริโภคขนมเป็นกลไกการให้ความรู้และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคขนมหวานที่มีผลการควบคุมโรคฟันผุ ในกลุ่มนักเรียนประถมศึกษา ปีที่ 5-6 จังหวัดลพบุรี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7, 1-3 กันยายน 2542 , ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี, หน้า 280-282.

รายละเอียด / Details:

บทนำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเกณฑ์แบ่งระดับความเสี่ยงของรายการขนมต่อการเกิดโรคฟันผุ (2) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ โดยใช้คะแนนความเสี่ยงการบริโภค ขนมร่วมกับการเพิ่มประสิทธิภาพพฤติกรรมการทำความสะอาด วิธีการศึกษา แบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงระดับ Ph ของคราบจุลินทรีย์ ภายหลังบริโภคขนมที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 12 ชนิด สามารถแบ่งชนิดขนมตามระดับ ความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุเป็น 3 ระดับคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำ (นมเปรี้ยวดัชมิลล์) กลุ่มเสี่ยสูง (โดนัส ป๊อกกี้ มินิคุกกี้ ลูกชุบ ลูกอมคูก้า) และกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง (โก๋แก่ น้ำอัดลม ขนมครก ทองหยอด ปลาสวรรค์ทาโร่) ระยะที่ 2 ผสมผสานผลการศึกษาในระยะที่ 1 และประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันได้แก่ Social Learning Theory Motivative Theory Self Efficiency และ Self Control ในการจัดทำหลักสูตรในโปรแกรมทันตสุขศึกษาและ โปรแกรมฝึกทักษะการแปรงฟันและการบริโภคขนม ระยะที่ 3 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมทันตสุขศึกษา และโปรแกรมฝึกทักษะ การแปรงฟันการบริโภคขนมในกลุ่มทดลอง 2 โรงเรียนคือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนไทยรัฐวิทยาจำนวน 73 คน และโรงเรียนพลร่มอนุสรณ์จำนวน 85 คน และกลุ่มควบคุมคือ โรงเรียนจังหวัดทหารบก จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการดูแลทันตสุขภาพ (2) แบบทดสอบความรู้เรื่องฟันผุและการดูแลป้องกัน (3) การบันทึก รายการขนมที่บริโภคติดต่อ 3 วัน เพื่อติดตามความถี่และคะแนนความเสี่ยงในการบริโภคขนม (4) แบบบันทึกสภาวะฟันผุ โดยใช้ดัชนีผุอุดถอน (5) แบบวัดสภาพเหงือกอักเสบ และประสิทธิภาพการแปรงฟัน (6) แบบวัดทัศนคติ และความมุ่งมั่นต่อการมีทันตสุขภาพที่ดี (7) แบบประเมินการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติที่ส่งเสริมทันตสุขภาพ และ (8) แบบประเมินบทบาทครูการดูแลโครงการทันตสุขภาพในโรงเรียน โดยมีการวัดสภาพพื้นฐานก่อนและหลังดำเนินการและติดตามผลสัมฤทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงและความยั่งยืนของพฤติกรรมเป็นระยะๆ 6 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired-t test, Student-t test, One-way Analysis of Variance, Chi-square Test ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองทั้ง 2 โรงเรียน มีความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการแสดงให้เห็นโปรแกรมทันตสุขศึกษาส่งผลให้กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มมากขึ้น และโปรแกรมการฝึกทักษะการแปรงฟันและการบริโภคขนม ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา โดยเฉลี่ยมีการปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้นและแตกต่างกับโรงเรียนพลร่มอนุสรณ์ แต่อย่างไรก็ดีพบว่าพฤติกรรมใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนเห็นชัดเจนในช่วงต้นของการดำเนินการ ท้ายที่สุดกลับพบว่า พฤติกรรมทันตสุขภาพที่มีทักษะได้ดีมีประสิทธิภาพนั้นกลับไม่ยั่งยืน และลดประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติในช่วงท้ายของการประเมิน

Keywords: พฤติกรรม, ความรู้, การบริโภค, โรคฟันผุ, การควบคุม, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: หน่วยติดตามสถานะสุขภาพจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และคณะสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

Code: 20040000235

ISSN/ISBN: 974-291-983-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -