ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กลิ่นผกา นีละสมิตร

ชื่อเรื่อง/Title: ความรู้และทัศนคติต่อการมีและใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชนในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการสาธารณสุข ประจำปี 2547, ในการประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 12, เมืองไทยสุขภาพดี วิถีพัฒนาที่มั่นยืน, ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ จังหวัดภูเก็ต 24-27 สิงหาคม 2547, หน้า 118.

รายละเอียด / Details:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเรื่องความรู้และทัศนคติต่อการมีและใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชนในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติต่อการมีและใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในผู้ที่มีสิทธิขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าทุก PCU ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม 2547 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 424 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.3 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 59.4 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 39.2 การศึกษาจบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 72.4 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 49.1 รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่เคยรับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถาบันอนามัย ร้อยละ 51.4 ส่วนจำนวนครั้งที่รับการรักษาพยาบาลอยู่ ระหว่าง 1-5 ครั้ง ร้อยละ 91.7 ส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 41.3 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 88.9 ส่วนโรคประจำตัวที่เป็นมากที่สุดคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 30.4 เคยได้รับความรู้และเข้าใจดีในเรื่องการขึ้นทะเบียน ร้อยละ 71.9 สิทธิประโยชน์ ร้อยละ 74.3 และการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 78.8 ตามลำดับ แหล่งความรู้ที่ได้รับมากที่สุดจาก อสม. ร้อยละ 72.9 ประชาชนมีสิทธิในการรักษาพยาบาล ร้อยละ 97.6 และสิทธิในการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นประเภทบัตรทองเสียค่าธรรมเนียม 30 บาท มีการขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 97.6 สาเหตุการขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่วนใหญ่ คือ เห็นว่ามีความสำคัญต้องใช้ ร้อยละ 86.7รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขขึ้นทะเบียนให้ ร้อยละ 30.2 สาเหตุการไม่ขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่วนใหญ่ คือไปทำงานต่างถิ่น ร้อยละ 50.0 รองลงมา คือ ไม่สะดวกในการเดินทางไปขึ้นทะเบียนร้อยละ 30.0 ส่วนความรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน สิทธิ และการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่าประชาชนทุกคนทราบว่า หน่วยบริการที่รับขึ้นทะเบียนบัตรทอง คือ สถานีอนามัยและโรงพยาบาลประจำอำเภอนั้น ความรู้เรื่องการขึ้นทะเบียน สิทธิ และการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยรวมส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.9 ประชาชนเห็นว่า โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นโครงการที่ดี และน่าจะมีต่อไป ประชาชนในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นมีความรู้และทัศนคติ ต่อการมีและใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในระดับปานกลาง และยังมีประชาชนเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของบัตร จึงควรมีการให้ความรู้ในเรื่องนี้โดยละเอียดมากขึ้น

Keywords: ทัศนคติ, บัตรประกันสุขภาพ, ความรู้, บัตรทอง, อำเภอชุมแพ, จิตวิทยา, เจตคติ, บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: สอ.โคกม่วง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

Code: 20040000245

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 12 .

Download: -