ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รณชัย ตั้งมั่นอนันตกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการดำเนินงานการพัฒนา กระบวนการสร้างพลังแบบองค์รวม : กาย จิต สังคมบำบัดประยุกต์ ในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รุ่นที่ 1-6

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 96-97. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การเอาชนะยาเสพติดเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในทุกระบบ แต่การแก้ไขปัญหาการระบาดของยาเสพติดโดยการบำบัดรักษาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอไม่จำเป็นต้องครอบคลุม ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ การฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลวังน้อย ซึ่งได้ดำเนินการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยประยุกต์กระบวนการสร้างพลังแบบองค์รวม กาย จิต สังคมบำบัด ในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาตั้งแต่ปี 2545-ปัจจุบัน จำนวน 6 รุ่น มีผู้เข้ารับการบำบัดจำนวน 580 คนนั้น แต่ละรุ่นได้มีการดำเนินงานพัฒนาทั้งระบบการคัดกรอง รูปแบบการบำบัดรักษาที่ผ่านกระบวนการบำบัดรักษาสามารถดำรงชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งพาและหวนกลับไปใช้ยาเสพติด การดำเนินงานในแต่ละรุ่น เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีจุดแด่นด้านการประสานและสร้างเครือข่าย ขยายพหุภาคีโดยยึดผู้รับการบำบัดเป็นศูนย์กลางและแก้ไขแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่แนวทางที่พึงปรารถนา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรอง การบำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดด้วยกระบวนการสร้างพลังแบบองค์รวม ซ กาย จิต สังคมบำบัด ประยุกต์ ในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษารูปแบบในการติดตามหลังการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดสามารถดำรงชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาและหวนกลับไปใช้ยาเสพติด ผลการดำเนินงาน 1. ด้านระบบคัดกรอง ได้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบคัดกรองให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ โดยประสานความร่วมมือกับกองทัพบก องค์กรเอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบบำบัดฟื้นฟู โดยการกำหนดสัดส่วนให้มีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพิ่มขึ้น เพื่อประสิทธิผลในการติดตามหลังการบำบัด ยกตัวอย่าง เช่น รุ่น 1 ระบบคัดกรองรับสมัครจากทั่วประเทศมีสัดส่วนคนกรุงเทพฯ : ต่างจังหวัด 50: 50 ทำให้มีปัญหาเรื่องการติดตามประเมินผล และการประสานงานหลังการบำบัด รุ่นที่ 2 เริ่ม เริ่มปรับเปลี่ยนให้มีการคัดกรองร่วมกับพหุภาคี จากจังหวัดนนทบุรี มีสัดส่วนกลุ่มจังหวัดเดียวกันเพิ่มขึ้น 50:50 รุ่นที่ 3 ประสานความร่วมมือ เช่น โรงงาน อบต. และชุมชน กำหนดสัดส่วนคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 20:80 เช่นเดียวกับรุ่นที่ 1 แต่ใช้ผู้นำในกลุ่มผู้เข้าบำบัด เป็นผู้ช่วยติดตาม รุ่นที่ 5 ได้ประสานความร่วมมือพหุภาคีขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น อำเภอ อบต. ตำรวจ โรงงาน รพช. คปสอ. ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดสัดส่วนคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 75:25 รุ่นที่ 6 เป็นรุ่นพิเศษ ที่เกิดจากความร่วมมือประสานงานในพื้นที่อำเภอวังน้อย กำหนดสัดส่วนเป็นเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 100% เพื่อการติดตามหลังการบำบัดที่มีประสิทธิภาพต่อไป 2. ด้านการบำบัดและการจัดหลักสูตร ได้มีการผสมผสานการใช้กระบวนการสร้างพลัง และกาย จิต สังคม บำบัดประยุกต์เข้าในกิจกรรมพันธ์กิจหลัก 5 ด้าน ของการบำบัดฟื้นฟูในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นมาตามลำลัด ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 6 โดยเสริมกิจกรรมวิเคราะห์ใบงาน ร่วมกับกิจกรรม walk rally เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีมากขึ้น 3. ด้านการติดตามประเมินผล การติดตามประเมินผลหลังการบำบัดเป็นส่วนสำคัญในการประเมินผลสำเร็จของระบบบำบัดฟื้นฟู คณะทำงานจึงได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบ ตดตามให้มีประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น อาทิเช่น ปรับเปลี่ยนจากการใช้การติดตามด้วยจดหมาย และโทรศัพท์ เป็นการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้ช่วยติดตามหลังการบำบัด เช่น โรงพยาบาลชุมชนสถานีอนามัยชุมชน ในพื้นที่ตำรวจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้จัดทำแฟ้มระบบข้อมูลเชิงคุณภาพ ประวัติผู้เข้ารับการบำบัด ผังเครือญาติใบงานกิจกรรมไว้เป็นระบบส่วนบุคคล เพื่อการส่งต่อและการติดตามดูแลต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำพื้นที่ สำหรับในเขตอำเภอวังน้อยได้ประสานกับคณะกรรมการแกนนำเวชปฏิบัติครอบครัว บริหารจัดการระบบการเงิน การคลัง สนับสนุนเงินเยี่ยมบ้านครังละ 100 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลออกเยี่ยมบ้านติดตามหลังการบำบัดอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 4. ด้านผู้รับการบำบัด ผู้รับการบำบัดในค่ายวิวัฒน์พลเมือง แต่ละรุ่น (รุ่นที่1-รุ่นที่ 6) จำนวน 580 คน ได้รับการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมทั้งมีการจัดกระบวนการครอบครัวบำบัด ผลการดำเนินการพบว่า ขณะบำบัดในค่ายเลิกเสพยาได้ 100% ส่วนการติดตามหลังออกจากค่าย พบว่า ผู้ที่ประกอบอาชีพจะสามารถเลิกยาได้นานมากขึ้น 5. ด้านการขยายเครือข่ายพหุภาคี การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรผสมผสานในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ได้รับการยอมรับจนได้มีการขยายเครือข่ายพหุภาคี จัดอบรมขยายแนวคิดแก่ครูฝึกโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง 37 ค่าย ทั่วประเทศ ได้รับเชิญวิทยากรบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ศูนย์อำนวยการร่วม 108 จังหวัดกาญจนบุรี ของกองบัญชาการทหารสูงสุดประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโรงงานเพื่อการพัฒนาระบบติดตามหลังการบำบัดและส่งเสริมพัฒนาอาชีพ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น ข้อเสนอแนะ 1. การแก้ไขปัญหาการระบาดของยาเสพติดจำเป็นต้องครอบคลุมทั้งด้านป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนั้น จึงต้องมีการระดมความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงประชาชนทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของตนเองให้ดีขึ้น การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต้องสร้างกระบวนการครอบครัวอบอุ่น ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน ให้มีส่วนร่วม 5 ประการ คือ ร่วมคิด ร่วมตัดสิน ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมตรวจสอบ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป 2. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการหยุดเสพยา และเลิกยาได้ต่อเนื่องของผู้เข้ารับการบำบัด คือ การได้รับโอกาสให้เข้าทำงาน การมีงานทำแบบถาวร และนโยบายของรัฐที่สกัดกั้นไม่ให้มีการเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยแก้ไขปัญหาการระบาดของยาเสพติดในระยะยาว

Keywords: ยาเสพติด, องค์รวม, กาย จิตสังคมบำบัด, วิวัฒน์พลเมือง, ผู้ติดยาเสพติด, สารเสพติด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพนะนครศรีอยุธยา

Code: 00000010

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -