ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชัยชนะ นิ่มนวล, ยุทธนา องอาจสกุลมั่น

ชื่อเรื่อง/Title: มาตรฐานการบันทึกการให้คำปรึกษาทางจิตเวชของผู้ป่วยในโรคทางกาย: การบันทึกข้อมูลเรื่องอารมณ์ ความคิด ฆ่าตัวตาย และการใช้สุราและสารเสพย์ติด

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 48, ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2546, หน้า 131-146

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อแสดงความสมบูรณ์ของรายงานการให้คำปรึกษาทางจิตเวชแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วไป มุ่งเน้นเรื่องการบันทึกสภาวะอารมณ์ ความคิดฆ่าตัวตาย และการใช้สุรา และสารเสพย์ติด และค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสมบูรณ์ของรายงานดังกล่าว วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจจากระเบียนประวัติผู้ป่วยในที่ได้รับการปรึกษาทางจิตเวช ในช่วง พ.ศ. 2542-2543 จำนวนทั้งสิ้น 378 ระเบียนประวัติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยเรื่องการเจ็บป่วย และปัจจัยทางด้านจิตเวช โดยใช้แบบ multiple logistic regression ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการมีหรือไม่มีการบันทึกสภาวะอารมณ์ ความคิดฆ่าตัวตาย และการใช้สุราและสารเสพย์ติด ผลการศึกษา การละเลยการบันทึกสภาวะอารมณ์ ความคิดฆ่าตัวตาย และการใช้สุราและสารเสพย์ติด ของแพทย์ยังมีอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 30, 35, และ 38 ตามลำดับ) จิตแพทย์มีแนวโน้มจะละเลยการบันทึกสภาวะอารมณ์ในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้ป่วยหญิง ประมาณร้อยละ 60 ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น organic mental disorder มากว่า functional ประมาณร้อยละ 60 เช่นกัน ส่วนเรื่องความคิดฆ่าตัวตายจิตแพทยืมักจะละเลยการบันทึกในผู้ป่วยชายประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยหญิง การละเลยการบันทึกมีมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมาก และในกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น organic mental disore (adjusted OR=3.1,P=0.007) สำหรับด้านสุราและสารเสพย์ติด แพทย์ละเลยการบันทึกมากกว่าในผู้ป่วยหญิง (adjusted OR=1.99,P=0.006) ในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น (P=0.02) และในผู้ป่วยของแผนกอื่นๆ เมื่อเทียบกับแผนกอายุรกรรม สรุป การละเลยการบันทึกสภาวะอารมณ์ ความคิดฆ่าตัวตายและการใช้สุราและสารเสพย์ติดของแพทย์ยังมีอยูในระดับสูง ปัจจัยเรื่องเพศ อายุ และการวินิจฉัยทางจิตเวช มีความสัมพันธ์กับการวันทึกดังกล่าว แพทย์ควรให้ความสำคัญมากขึ้นในการบันทึกข้อมูลทางปฏิบัติ

Keywords: การให้การปรึกษาทางจิตเวช, สภาวะอารมณ์, ความคิดฆ่าตัวตาย, การใช้สุรา, การใช้สารเสพย์ติด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ปรึกษา, เวชระเบียน, ประวัติผู้ป่วย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Code: 20040000266

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format