ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อรพรรณ สุนทวง

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดผู้เสพสารเสพติดต่อพฤติกรรมการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำและอัตราการเลิกเสพระหว่างโปรแกรมจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกกับโปรแกรมจิตสังคมบำบัดแบบค่ายบำบัดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 219-220. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แผนการทดลองแบบ 2 กลุ่ม มีการวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของพฤติกรรมการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ และอัตราการเลิกเสพของผู้เสพสารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างโปรแกรมจิตสังคมบำบัด แบบผู้ป่วยนอกกับโปรแกรมจิตสังคมบำบัดแบบค่ายบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพสารเสพติดชนิดยาบ้า อยู่นอกระบบการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มารับการบำบัด ณ คลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนมกราคม 2546 ถึงเดือนมิถุนายน 2546 จำนวน 80 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มละ 40 ราย โดยกลุ่มตัวอย่าง 40 รายแรก เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 เข้ารับการบำบัดด้วยโปรแกรมจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอก และสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านครอบครัวและด้านสังคมของกลุ่มตัวอย่าง แบบประเมินอัตราการเลิกเสพ และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และใช้สถิติ Paired Samples t-test ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการทดลองกับหลังการทดลอง พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ หลังการทดลอง เพิ่มสูงขึ้น จากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P‹0.001) และอัตราการเลิกเสพพบว่า ติดตามหลังการบำบัด ครั้งที่ 1 อัตราการเลิกเสพร้อยละ 100 ครั้งที่ 2 อัตราการเลิกเสพ ร้อยละ 100 ครั้งที่ 3 อัตราการเลิกเสพ ร้อยละ 100 ครั้งที่ 4 ครบติดตามเดือนมิถุนายน 2546 2. กลุ่มทดลองที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการทดลองกับหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และอัตราการเลิกเสพ พบว่า ติดตามหลังการบำบัด ครั้งที่ 1 อัตราการเลิกเสพ ร้อยละ 90 ครั้งที่ 2 อัตราการเลิกเสพ ร้อยละ 82.5 ครั้งที่ 3 คิดเป็นอัตราการเลิกเสพ ร้อยละ 82.5 ครั้งที่ 4 ครบติดตามมิถุนายน 2546 3. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ ไม่แตกต่างกับกลุ่มทดลองที่ 2 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการบำบัดผู้เสพสารเสพติดทั้งสองรูปแบบมีประสิทธิผลดี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันการไปเสพซ้ำและการเลิกเสพได้ แต่การบำบัดรูปแบบทั้ง 2 วิธี ยังมีปัญหาอุปสรรคหลายด้าน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาต่อไป ควรพิจารณาในประเด็นด้านผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ความต่อเนื่องของการบำบัด การประหยัดค่าใช้จ่าย การมีส่วนร่วมของครอบครัว และการมีระบบติดตามรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างถาวร

Keywords: สารเสพติด, ยาเสพติด, ผู้เสพสารเสพติด, โปรแกรมจิตสังคมบำบัด, ค่ายบำบัด, พฤติกรรม การเสพยา, จิตสังคม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

Code: 000000111

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -