ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริพร ศิริวัฒนไพศาล

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลพุทธชินราช

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 6, 24-26 มิถุนายน 2541

รายละเอียด / Details:

งานวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาความเครียดของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ โดยมุ่งศึกษาปัจจัยดังนี้คือ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้วิธีเสียค่ารักษา ประสบการณ์ที่เคยได้รับผ่าตัด ความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด และความเชื่อเกี่ยวกับการผ่าตัดของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ จะมีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดจำนวน 900 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มจากผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ การวิเคราะห์ข้อมูลหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) การคำนวณทั้งหมดใช้เครื่อง Microcomputer โปรแกรม SPSS/PC + ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ ของโรงพยาบาลพุทธชินราช มีความเครียดระดับปานกลาง 2. เพศ มีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3. สถานภาพสมรสมีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4. รายได้มีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0 5. ความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัดมีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 6. ความเชื่อเกี่ยวกับการผ่าตัดมีผลต่อความเครียดของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 และจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าพยากรณ์ระดับความเครียดได้ร้อยละ 20 ซึ่งสร้างสมการพยากรณ์ระดับความเครียดได้ดังนี้ D=108.76-0.93 C เมื่อ D เป็นค่าระดับความเครียดที่พยากรณ์และ C คือความเชื่อเกี่ยวกับการผ่าตัด วิจารณ์และข้อเสนอแนะ; จากผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลควรตระหนักถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดก่อนผ่าตัดและนำผลไปวางแผนให้การพยาบาล ตลอดจนตระหนักถึงการเสริมสร้างความรู้ และความเชื่อเพื่อให้บริการทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ส่วนการศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มขนาดของประชากรและควรวัดความดันโลหิตอัตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลความเครียดที่แท้จริงยิ่งขึ้น

Keywords: สุขภาพจิต, ความเครียด, ผ่าตัด, ภาวะเครียด, เครียด, stress, psychology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: โรงพยาบาลพุทธชินราช สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200410006052

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -