ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นิตยา ชิโนดม, พรทิพา ศุภราศรี

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อระดับความวิตกกังวล และความพึงพอใจ ในบริการพยาบาล ของญาติผู้ป่วย ในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7 , พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

การเข้ารับการรักษาของสมาชิกในครอบครัวหออภิบาลผู้ป่วยหนัก ถือเป็นประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความตื่นตกใจและวิตกกังวลเป็นอย่างมาก อาการเจ็บป่วยที่รุนแรงของผู้ป่วยร่วมกับการรับรู้ของญาติที่มีต่อสถานที่อันน่ากลัวและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยต่าง ๆ นับเป็นสาเหตุสำคัญของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ดังนั้นการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนเกี่ยวกับสภาพทั่วไป ในหออภิบาลผู้ป่วยหนักเหตุผลที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษา การวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ ประโยชน์ของเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ การปฏิบัติตนของญาติเมื่อเข้าเยี่ยม และกฎระเบียบต่าง ๆ ของหออภิบาลผู้ป่วยหนักจึงเป็นการเตรียมพร้อมให้กับญาติผู้ป่วยเพื่อให้สามารถรับรู้ ตัดสินใจ และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมยังผลให้ญาติผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล และเกิดความพึงพอใจในบริการพยาบาลที่ได้รับ อันจะนำไปสู่การพยาบาลตามแนวความคิดของการดูแลบุคคลแบบองค์รวมและภาพพจน์ที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาลในที่สุด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อระดับความวิตกกังวลและความพึงพอใจในบริการพยาบาลของญาติผู้ป่วยหออภิบาลผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชลบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2542 จำนวน 40 คน โดยแบ่ง 20 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม 20 คนต่อมาเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลอย่างมีแบบแผนจากคณะผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบแผนการให้ข้อมูล แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว แบบสัมภาษณ์ทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของรัฐไม่เกิน 5 ครั้ง/ปี คิดเป็นร้อยละ 51.7 ด้านประเภทสถานประกอบการของผู้ประกันตนส่วนใหญ่ทำงานอุตสาหกรรมบริการ ร้อยละ 58.8 สำหรับผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ ปรากฎว่า โดยเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ประกันตนทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย 2.27 ทางด้านปัญหาอุปสรรคในการขอรับบริการทางการแพทย์ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านความไม่สะดวกจากสถานบริการเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางไปสถานพยาบาลร้อยละ 45.91 ขั้นตอนการเข้ารับบริการร้อยละ 45.32 การให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 24.27 วิจารณ์และสรุป จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาคุณภาพบริการของสถานพยาบาล เพื่อที่ประชาชนที่มารับบริการทุกคนจะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและเกิดความพึงพอใจ ประทับใจอย่างสูงสุดในบริการที่ได้รับ

Keywords: วิตกกังวล, บริการพยาบาล, ความวิตกกังวล, ญาติ, หออภิบาลผู้ป่วยหนัก, การให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน, การพยาบาลจิตเวช, psychiatric nursing, anxiety

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: โรงพยาบาลชลบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200420007075

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -