ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวิทย์ โพธิราช

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยและผลกระทบต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของชาวชนบทอีสาน กรณีศึกษา บ้านนามะเฟือง หมู่ที่ 9 ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7,พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

ในปัจจุบัน การดื่มสุราเป็นพฤติกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งของคนไทยซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มักจะก่อให้เกิดปัญหาหลาย ๆ ด้านตามมา โดยเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัย ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการดื่มเหล้า 2. ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มสุราของชาวชนบทอีสานกับตัวแปรต่าง ๆ 3. ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มสุรากับภาวะโภชนาการโดยมีสมมุติฐานในการวิจัยว่า (1) พฤติกรรมการดื่มสุรามีผลเสียมากกว่าผลดี (2) พฤติกรรมการดื่มสุราของชาวชนบทภาคอีสานมีความสัมพันธ์กับตัวแปรต่าง ๆ (3) พฤติกรรมการดื่มสุรามีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Quantilative method และ Quanlitative mathod ประชากรศึกษาได้แก่ประชาชนจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling และ Multi Stage Sampling กลุ่มตัวอย่าง 32 คน ตัวแปรอิสระได้แก่ อายุ เพศ กลุ่มบุคคลที่ดื่มสุรา เพื่อนชวนหรือตามใจผู้อื่นหรือสังคม ความอยากลอง การโฆษณาหรือสิ่งล่อใจ ประเพณีหรือวัฒนธรรม สุขภาพจิต ความรู้ การศึกษา อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ลักษณะของอาชีพที่ทำ ฐานะของครอบครัวหรือรายได้ สถานที่ดื่มหรือสถานที่อำนวยอิทธิพลของศาสนา แหล่งผลิต จำหน่าย ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มสุรา เกณฑ์การใช้ความหนาของร่างกาย (BMI) สถิติที่ใช้ ได้แก่ Percentage Mean SD วิเคราะห์ด้วย Computer โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการศึกษาพบว่า เพศชายจะดื่มสุรามากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุที่การดื่มสุรามากคือ 15-20 ปี สาเหตุของการดื่มจะมาจากการชักชวนของเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือความอยากรู้อยากลอง สำหรับแหล่งที่มาของสุราจากร้านค้าในหมู่บ้าน ประเภทของสุราจะเป็นสุราขาว 40 ดีกรีเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นจะมาจากการทำเอง เช่น สาโท เหล้าดองยา จะเห็นว่าปริมาณของการดื่มมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ คือจะทำให้ค่าความหนาของร่างกาย (BIM) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 25 ผลกระทบจากการดื่มสุรา นอกจากจะมีผลต่อภาวะโภชนาการแล้ว ยังส่งผลกระทบอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดผลเสียต่อสภาวะพยาธิสภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยทั่วไป จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สุรามีโทษต่อประชาชนอย่างมากทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสภาพทั่ว ๆ ไป เช่น สภาวะทางเศรษฐกิจ และปัญหาครอบครัวตลอดจนประสิทธิภาพในการทำงาน ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรมีการศึกษาหาแนวทางในการที่จะป้องกัน และลดละเลิกการดื่มสุราให้แก่ประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์ลดพฤติกรรมการดื่มสุราต่อไป

Keywords: พฤติกรรมการดื่มสุรา, พฤติกรรม, สารเสพติด, ยาเสพติด, เหล้า, สุรา, ชาวชนบทอีสาน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสุวรรณคูหา กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200420007086

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -