ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สร้อยทอง สินทศานนท์ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดของประชากรในเขตเทศบาลตำบล เบตง อ.เบตง จ.ยะลา

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 8 วันที่ 23-25 สิงหาคม 2543

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา วิธีการศึกษา เป็นวิจัยพื้นฐาน สาขาสังคมวิทยา กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตเทศบาลเบตงที่มีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 100 คน จากทั้งหมด 11,094 คน ชาย 5,522 หญิง 5,572 คนใช้อัตรา 1:100 จะได้กลุ่มตัวอย่างเพศชาย 50 คน เพศหญิง 50 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด ซึ่งผ่านการตรวจตรงตามเนื้อเรื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วัดระดับความเครียด โดยใช้แบบประเมินระดับความเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขมีทั้งหมด 20 ข้อแบ่งระดับความเครียดได้ 5 ระดับ คือระดับความเครียดต่ำกว่าปกติ ระดับความเครียดปกติ ระดับความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยระดับความเครียดสูงกว่าปกติปานกลางและระดับความเครียดสูงกว่าปกติมากวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร้อยละ และใช้สถิติ Chi-Square test ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับระดับความเครียด ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเบตงส่วนใหญ่อยู่ในระดับความเครียดปกติ 61 คน ร้อยละ 61 มีระดับความเครียดต่ำกว่าปกติ 16 คน ร้อยละ 16 ระดับความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย 17 คน ร้อยละ 17 ระดับความเครียดสูงกว่าปกติปานกลาง และระดับความเครียดสูงกว่าปกติมากจำนวนเท่ากันคือ 3 คน ร้อยละ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเบตง อำเภเบตง จังหวัดยะลาอยู่ในระดับปกติ สรุปผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และ สิ่งแวดล้อมกับระดับความเครียดพบว่า ปัจจัยด้านอายุ บุคคลที่ต้องการปรึกษา เรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจมากที่สุด การรับรู้วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ โรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ ในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย

Keywords: เครียด, ความเครียด, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, stress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลเบตง

Code: 200430008220

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -