ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จันทรา ธีระสมบูรณ์

ชื่อเรื่อง/Title: การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 8 วันที่ 23-25 สิงหาคม 2543

รายละเอียด / Details:

การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านเป็นโครงการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผู้รับผิดชอบคือ กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เริ่มดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 ดำเนินงาน 2 รูปแบบ คือ Hospital Based และ Commumity Based การดำเนินงานรูปแบบ Hospital Based คือการให้บริการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านโดยทีมสุขภาพของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค เภสัชกร และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ให้บริการในเขตอำเภอเมือง อำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี และการดำเนินงานรูปแบบ Commumity Based เป็นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่อเนื่องที่บ้าน โดยทีมสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชน หรือสถานีอนามัยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์กลับไปอยู่ในชุมชนอำเภอฉ่าง และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีบุคลากรโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ในปี พ.ศ. 2541 ได้ทำการวิจัยเพื่อประเมินผลโครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านใน รูปแบบ Hospital Baseed 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้นด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบ การประเมินชิป (cipp model) โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยจิตเวชที่จำหน่ายอกจากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ในปี พ.ศ.2541 จำนวน 52 คน ญาติผู้ป่วยจำนวน 52 คน และผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านจำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และทดสอบ และแบบสอบภาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัย ด้านบริบท พบว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล สวนสราญรมย์ วิสัยทัศน์ กรมสุขภาพจิต และนโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิตแห่งชาติ ส่วนในด้านการปฏิบัติงานจริงสอดคล้องกับแผนงานของโครงการในระดับสูงด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 73.1 ญาติผู้ป่วยร้อยละ 77.7 และผู้ปฏิบัติงานร้อยละ96.1 มีความเห็นว่าความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านมีอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะสื่อประเภทต่าง ๆ งบประมาณ และบุคลากรที่มีความเพียงพอและเหมาะสมในการดำเนินโครงการด้านกระบวนการ พบว่ามีการวางแผนการดำเนินงาน การประชุมปรึกษาก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องตามแผนการ ดำเนินงาน ด้านผลผลิต พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 90.4 และญาติร้อยละ 95.1 มีความรู้ในระดับสูง ญาติร้อยละ 80.8 มีทัศนคติเชิงบวกต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านผู้ป่วยร้อยละ 73.1 มีความสามารถในการดูแลตนเองในระดับสูง ญาติร้อยละ 76.9มีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยในระดับสูง และผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานครบถ้วนผู้ป่วยและญาติให้ข้อเสนอแนะ ว่าควรมีการให้ความรู้แก่ประชาชนในรูปแบบการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้สังคมเกิดการยอมรับผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น

Keywords: การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน, การพยาบาลจิตเวช, การพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเวช, โรคจิต, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, psychiatric nursing, psychiatry, home care

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200430008225

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -