ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ภาวดี (กิตติคุณ)การเร็ว, สยาม แก้ววิชิจ, วราภรณ์ ปัณณวลี

ชื่อเรื่อง/Title: ต้นทุนต่อหน่วยงานบริการผู้ป่วย โรงพยาบาลสวนปรุง

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 8 วันที่ 23-25 สิงหาคม 2543

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการผู้ป่วยโรงพยาบาลสวนปรุง ศึกษาพฤติรรมของต้นทุนในแง่ของสัดส่วนของต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน รายได้ของโรงพยาบาล อัตราการคืนทุน และจุดคุ้มทุน รวมทั้งได้วิเคราะห์ความไวของต้นทุน ในทัศนะของผู้ให้บริการ เก็บ ข้อมูลย้อนหลังในครึ่งปีงบประมาณ 2541 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และการจัดสรรแรงงาน จากข้อมูลแบบรายงานค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และบุคลากรของโรงพยาบาลสวนปรุง โดยเกิดรายได้ (NRPCC) หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ (PRCC) และหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย (PS) การจัดสรรต้นทุนจากหน่วยงานต้นทุนชั่วคราว (NRPCC และ RPCC) ไปยังหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย (PS) โดยวิธี Simultaneous equation ตามเกณฑ์การจัดสรรต้นทุนที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนต่อหน่วย งานบริการผู้ป่วยนอก งานทันตกรรมงานสังคมสงเคราะห์และงานจิตวิทยา มีค่าเท่ากับ 288.74 197.37 467.57 และ 1,045.59 บาท ต่อครั้ง ตามลำดับ งานคลายเครียด งานฟื้นฟูสมรรถภาพและงานผู้ป่วยไปรษณีย์ มีค่าเท่ากับ 540.73 928.08 และ 290.24 บาทต่อราย ตามลำดับส่วนต้นทุนต่อหน่วยงานบริการผู้ป่วยใน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.982.18 บาทต่อราย หรือเท่ากับ 349.98 บาทต่อวันป่วยในส่วนของพฤติกรรมต้นทุน พบว่า ต้นทุนรวมของโรงพยาบาลสวนปรุงประกอบด้วยต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนในสัดส่วน 63 : 33:1 ต้นทุนทางตรง (Direct cost)ของหน่วยต้นทุน NRPCC และ PS มีมูลค่าของต้นทุนค่าแรงสูงที่สุด (ร้อยละ 46.72 และ 87.3 ตามลำดับ) ในขณะที่หน่วยต้นทุนRPCC จะมีมูลค่าของต้นทุนค่าวัสดุสูงที่สุด (ร้อยละ 80.0) โรงพยาบาลสวนปรุงมีรายได้สุทธิ (Net revenue) ส่วนใหญ่มาจากงานบริการผู้ป่วยในถึงร้อยละ 67.92 และมีอัตราการคืนทุนสุทธิ (Net cost recoven) ของต้นทุนทั้งหมด (FC)และต้อนทุนดำเนินการ (OC) ในส่วนงานผู้ป่วยนอกเท่านั้น ร้อยละ 14.82 และ 16.12 ตามลำดับ ส่วนงานผู้ป่วยในเท่ากับร้อยละ 17.84 และ 19.78 ตามลำดับ อัตราการคืนทุนจากรายรับถึงได้ (Accrual cost recovery) ของ FC และ OC ในส่วนงานผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในเท่ากับร้อยละ 29.78 32.39 19.98 และ 22.09 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลสวนปรุงมีต้นทุนค่าบริการส่วนที่ได้เรียกเก็บ (RSC)สูงถึงร้อยละ 83.26 ซึ่งหากพิจารณาถึงจุดคุ้มทุนต่อต้นทุนทั้งหมด (FC) และต้นทุนดำเนิน (OC) แล้ว พบว่า โรงพยาบาลจะต้องเพิ่มปริมาณการให้บริการ ผลการวิจัยนี้ ทำให้ได้รูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของโรงพยาบาลสวนปรุง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับโรงพยาบาลจิตเวชอื่น ๆ ที่มีระบบโครงสร้างและลักษณะการให้บริการผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกันได้ และข้อมูลที่ได้จากการวิจัย สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาของงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล และจัดสรรงบประมาณที่ได้มาให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาลให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

Keywords: ต้นทุนต่อหน่วยงานบริการผู้ป่วย โรงพยาบาลสวนปรุง, บริการสุขภาพจิต, จิตเวช, unit cost

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200430008226

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -