ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิชญา ศรีเกลื่อนกิจ, อุไรวรรณ ชัชนะวิโรจน์

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการให้คำปรึกษารายกลุ่มต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 8 วันที่ 23-25 สิงหาคม 2543

รายละเอียด / Details:

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษารายกลุ่มต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็ง ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านม และได้รับการรักษาเสริมด้วยการให้เคมีบำบัดไซโคลฟอสฟาไมด์ แมทโทรเทร๊กเซ็ท และ 5 เอฟ ยู อย่างน้อย 1 ครั้งมาแล้วที่แผนกศัลยกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี และศูนย์ควบคุมป้องกันมะเร็งชลบุรี โดยเป็นผู้ซึ่งมารับการให้บริการปรึกษารายกลุ่ม จำนวน 4 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละปรึกษารายกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน เครื่องมือประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น จากแนวคิดของเฟอเรลและคณะประกอบด้วยความผาสุกชีวิต 4 ด้าน คือ ความผาสุกด้านร่างกาย ความผาสุกด้านจิตใจ ความผาสุกด้านสังคม และความผาสุกด้านจิตวิญญาณ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฝาของครอนบาดได้ความเชื่อมั่นในภาพรวม = 75 ด้านร่างกาย =.70 ด้านจิตใจ =80 ด้านสังคม =.70 และด้านจิตวิญญาณ=.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความแปรปรวนและ ที-เทสส์ ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตในภาพรวมภายหลังการได้รับบริการ การให้คำปรึกษารายกลุ่ม ดีกว่าก่อนได้รับบริการปรึกษารายกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹0.05<0.001)อธิบายได้ว่าการที่ผู้ป่วยมารับบริการปรึกษารายกลุ่ม เหมือนได้มาสู่สังคม อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งมีสมาชิกเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเดียวกัน มีความรู้สึกและความต้องการคล้าย ๆ กัน การมารับบริการปรึกษารายกลุ่ม จึงเป็นกระบวนการช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้ระบายความรู้สึก ได้กำลังใจจากเพื่อนผู้ป่วยด้วยกัน ได้เห็นตัวอย่างจากผู้ที่ผ่านพ้นภาวะวิกฤตมาแล้ว ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเองรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า ต่อตนเอง และต่อสังคมแต่ความผาสุกด้านร่างกายและจิตวิญญาณพบว่าไม่แตกต่างกัน เนื่องจากในระหว่างการได้รับบริการปรึกษารายกลุ่มผู้ป่วยกำลังได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ผลข้างเคียงของยาส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งพบได้ถึง 60 เปอร็เซ็นต์ อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นภาวะความกดดันทางอารมณ์ ซึ่งขัดขวางคุณภาพชีวิตได้ การใช้ยาแก้อาเจียนจะได้ผลต่อเมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสุขสบายการให้คำปรึกษารายกลุ่ม ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการผ่อนคลาย สามารถช่วยผู้ป่วยได้ระดับหนึ่ง สำหรับความผาสุกด้านจิตวิญญาณ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความสับสนความเชื่อทางจิตวิญญาณ โดยเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และยังเชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่มีความหวังในชีวิต การให้คำปรึกษารายกลุ่ม สมาชิกกลุ่มได้แนะนำเกี่ยวกับหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ซึ่งสมาชิกกลุ่มทุกคนนับถือพุทธศาสนา และเชื่อว่า ศาสนาเป็นความต้องการทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งโดยเป็นสิ่งที่ให้ความหวังและกำลังใจแก่ชีวิตและเป็นสิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต ผลการให้คำปรึกษาผู้ป่วยมีระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้นล็กน้อยจึงจะเป็นได้ว่า การให้คำปรึกษารายกลุ่มเป็นกลวิธีที่เป็นประโยชน์ใช้ส่งเสริมสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้าน สังคม และด้านจิตวิญญาณ

Keywords: การให้คำปรึกษารายกลุ่ม, ให้การปรึกษา, ปรึกษา, การพยาบาลจิตเวช, กิจกรรมพยาบาล, กลุ่มกิจกรรมบำบัด, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, psychiatric nursing, counseling, group therapy

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: -

Code: 200430008227

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -