ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ผการัตน์ ถาวรวงศ์ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการจัดการรายกรณีต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลสวนปรุง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 139-140.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล โรคจิตเภทเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวอย่างรุนแรงและยาวนาน การดูแลต้องอาศัยทักษะเฉพาะทางอย่างมากเนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ร่วมมือในการรักษาและมีอาการกำเริบรุนแรง ต้องมารักษาซ้ำเพราะไม่ได้รับการดูแลดีเท่าที่ครวจึงจำเป็นต้องหารูปแบบดูแลที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เหมาะสมและต่อเนื่องตามสภาพความเจ็บป่วย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณีต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาที่ตึกภาวนาโรงพยาบาลสวนปรุง ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในผู้ป่วยจิตเภทที่รับการรักษาที่ตึกภาวนาโรงพยาบาลสวนปรุง ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Designs) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจำนวน 70 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยการจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน ซึ่งผู้ที่จับฉลากได้เลขคู่จะเป็นกลุ่มทดลองเลขคี่จะเป็นกลุ่มควบคุม โดยมีตัวแปรอิสระ คือ การจัดการผู้ป่วยรายกรณี ตัวแปรตามคือ ความร่วมมือในการกินยาและการกลับมารักษาซ้ำเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ 1.แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2. แบบสอบถามความร่วมมือในการกินยา 3. แบบบันทึกสถิติประจำเดือนและ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการรายกรณี วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการกลับมารักษาซ้ำด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการกินยาระหว่างก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบ Pair T- Test เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการกินยาระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกล่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบ Pair T – Test และวิเคราะห์ความพึงพอใจด้วยค่าเฉลี่ยและร้อยละ สรุปผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 39 ปีและ 36 ปี ตามลำดับ ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ระดับประถมศึกษา อาชีพที่พบมากที่สุดคือ เกษตรกร ทางด้านสถานภาพสมรสพบว่ามีสถานภาพสมรสโสดเป็นส่วนใหญ่ ก่อนการทดสองกลุ่มทดลองมีการกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 เดือนร้อยละ 42.86 ภายใน 3 เดือนร้อยละ 65.7 และภายใน 6 เดือนร้อยละ100 ส่วนกลุ่มควบคุมมีการกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 เดือนร้อยละ 45.71 ภายใน – เดือนร้อยละ 71.42 และภายใน 6 เดือนร้อยละ 100 ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 เดือนร้อยละ 0 ภายใน 3 เดือนร้อยละ8.57 ภายใน 6 เดือน ร้อยละ 11.43 ส่วนกลุ่มควบคุมมีการกลับมารักษาซ้ำในระยะ 1 เดือนร้อยละ 40.00, ภายใน 3 เดือนร้อยละ68.57 และกลับมารักษาซ้ำในระยะ 6 เดือนถึงร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการกินยาระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลปรากฎว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการกินยา X=11.31sd.63 และ 11.17 sd.85 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความร่ามมือในการกินว่าระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความร่วมมือในการกินยาแตกต่างกันคือมีความร่วมมือในการกินยามากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคันทางสถิติ ( p.001 ) ส่วนกลุ่มควบคุมพบว่าระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีความร่วมมือในการกินยาใม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบคะแนน เฉลี่ยความร่วมมือในการกินยาระหว่างก่อน และหลังการทดลอง ผลปรากฎว่า ในระยะก่อนการทดลองนั้นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความร่วมมือในการกินยาไม่แตกต่างกัน แต่ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความร่วมมือในการกินยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p.001 ) ภายหลังการทดลองได้วัดความพึงพอใจต่อการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีของกลุ่มทดลองพบว่าค่าคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ควรมีการขยายโครงการวิจัยไปสู่ตึกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลสวนปรุงที่มีลักษณะผู้ป่วยเหมือนกัน เพื่อจะได้พัฒนาให้มีมาตรฐานเดียวกัน

Keywords: จิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภท, ความร่วมมือ, การรักษา, ครอบครัว, ยา, การเจ็บป่วยทางจิต, จิตเวชศาสตร์, จิตเวช, โรคจิต, โรงพยาบาลสวนปรุง, การกลับมารักษาซ้ำ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ตึกภาวนา โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต

Code: 20050000102

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: