ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วงเดือน สุนันตา

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนารูปแบบการดูแลทางจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยปัญหาจากแอลกอฮอล์แบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสวนปรุง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 142-143.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ปัญหาการเสพติดแอลกอฮอล์กำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากสถิติผู้ป่วยสารเสพติดของโรงพยาบาลสวนปรุงพบว่าเป็นอันดับสองรองจากผู้ป่วยโรคจิตเภท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยแอลกอฮอล์ซึ่งพบมากที่สุดในกลุ่มสารเสพติด (F10-19) แต่ยังไม่มีรูปแบบและระบบการดูแลทางจิตสังคมที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยแอลกอฮอล์ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลทางจิตสังคมสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากแอลกอฮอล์ขึ้น ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้แอลกอฮอล์ และปัญหาของผู้ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม มีคุณภาพและมาตรฐานกัน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา ขอบเขตการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระเบียบวิธีวิจัยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ประชากรเป็นผู้ที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสวนปรุงที่มารับบริการระหว่างเดือนตุลาคม 2547-เมษายน 2548 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยในกลุ่มแอลกอฮอล์ (F10)และผู้ที่ผ่านการคัดกรองตามแบบประเมิน Drug Check และได้รับบริการในคลินิกเลิกสุรา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบบันทึกการใช้บริการปรึกษา แบบประเมินติดตามการบำบัดรักษาเป็นแบบสอบถามปลายปิดซึ่งบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งที่เข้ารับการบำบัดการวินิจฉัยโรควิธีการให้การบำบัดชนิดของแอลกอฮอล์ ปริมาณ ความถี่ที่ใช้แอลกอฮอล์ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความสามารถในการทำงาน ( GAF) ร้อยละของจำนวนวันหยุดดื่ม ร้อยละของจำนวนวันที่ดื่มหนัก วันนัดครั้งต่อไป และผู้ให้บริการ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ สรุปผลการวิจัย ได้รูปแบบการดูแลทางจิตสังคมสำหรับผู้มีปัญหาจากแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย 1. โครงสร้างได้แก่ ก) ทีมผู้บำบัด มีการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรสำหรับให้บริการได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และนักอาชีวบำบัด โดยการอบรมการดูแลทางจิตสังคมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหารแอลกอฮอล์ ข) การจัดเตรียมคู่มือเอกสาร แบบบันทึก และสถานที่ให้บริการ ค) การสร้างระบบการและแนวทางการประเมินผล ง) ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้รับบริการ 2. กระบวนการให้บริการ มีการคัดกรองผู้มีปัญหาจากแอลกอฮอล์จากผู้ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโดยใช้แบบประเมิน Drug Check AUDIT การประเมินผู้รับบริการ การให้บริการทางจิตสังคมเป็นรายบุคคลตามปัญหาของผู้ป่วยโดยวิธี( Motivational interviewing (MI) Brief intrvention (Bi) Counseling (Csg) การบันทึกข้อมูล การนัดหมาย การส่งต่อและการติตามผลระยะยาว 3. ผลลัพธิ์การให้บริการ ผู้บำบัดที่ให้บริการ เป็นทีมสหวิชาชีพจำนวน 12 คน มีผู้รับบริการ 494 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41.8 ปี (SD=10.80) การวินิจฉัยโรค F10-19 ,มากที่สุด 466 คน (ร้อยละ 94.33) รองลงมา F20-29 18 คน (ร้อยละ 3.64 ) ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง (ร้อยละ 57.3, 10.3 และ 8.1 ตามลำดับ)โยมีค่า GAF. และร้อยละของจำนวนวันหยุดดื่ม ในสัปดาห์ที่ 0,2,4,8 มีแนงโน้มสูงขึ้น แต่กลับลดลงในสัปดาห์ที่ 12 ร้อยละของจำนวนวันที่ดื่มหนักลดลงในสัปดาห์ที่ 2,4,8 แต่กลับเพิ่มขึ้นในในสัปดาห์ที่ 12 เมื่อเทียบกับ สัปดาห์ 0 สำหรับแรงจูงใจในการเลิกพบว่ายังคงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และในระหว่างการมารับบริการแบบผู้ป่วยนอกได้ปรับเปลี่ยนการรักษาเป็นแบบผู้ป่วยในจำนวน 8 คน (ร้อยละ 1.62) และส่งต่อไปรับการรักษาใกล้บ้าน 121 คน (ร้อยละ 24.49) ขาดการติดต่อ 96 คน (ร้อยละ19.43) ข้อเสนอแนะ ควรขยายระละเวลาการศึกษาและนำผลการศึกษาไปใช้ในโรงพยาบาลจิตเวชอี่นที่มีลักษณะผู้ป่วยใกล้เคียงกัน

Keywords: แอลกอฮอล์, สารเสพติด, พฤติกรรม, การดูแลทางจิตสังคม, จิตสังคมบำบัด, ยาเสพติด, สุรา, ผู้ป่วยนอก, คลินิกเลิกสุรา, เหล้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: งานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวนปรุงเชียงใหม่

Code: 20050000104

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: