ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สงวนศรี แต่งบุญงาม, ชัชฎาภรณ์ ศรีพัฒนพิบูล

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการกลุ่มพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชสู่การพึ่งพิงตนเอง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 154.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การเจ็บป่วยทางจิตเป็นการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากหลายปัจจัยประกอบกันซึ่งยากต่อการให้การรักษาที่เหมาะสม การเจ็บป่วยทางจิตมักเป็นการเจ็บป่วยที่เรื้อรังและผู้ป่วยมักมีอาการหลงเหลืออยู่ ทำให้สมรรถภาพในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเสื่อมลง ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนปกติ ส่งผลกระทบให้ครอบครัวต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยในระยะยาวจากสภาพปัญหาดังกล่าว การพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความบกพร่องให้หลงเหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันกับครอบครัวและชุมชนได้ 2.ลดการป่วยซ้ำ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยจิตเวชหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล หลักการดำเนินกลุ่ม ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และเน้นการมีส่วนร่วม กระบวนการดำเนินกลุ่ม มุ่งพัฒนาผู้ป่วย 3 ด้าน ด้วย 3 กิจกรรม ด้งนี้ -กิจกรรมพบจิตแพทย์ เพื่อพัฒนาด้านความรู้เกี่ยวกับโรคและการเผชิญปัญหา ( Knowledge ) -กิจกรรมศิลปะการฟื้นฟูจิตใจ เพื่อพัฒนาความคิดเชิงบวก ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง ( Attitude ) -กิจกรรมเยี่ยมบ้านและทัศนศึกษาชุมชน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การสังคมให้แก่ผู้ป่วย ( Skill ) ผลการประเมินโครงการกลุ่ม -การประเมินเชิงปริมาณ ( ตั้งแต่ปี 2543 – 2547 ) พบว่า สมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การ readmit ของผู้ป่วยเรื้อรังที่เข้าร่วมกลุ่มอย่างต่อเนื่องลดลง -การประเมินเชิงคุณภาพจาก Self – report ของผู้ป่วย พบว่า therapeutic factors ที่มีผลต่อการบำบัดผู้ป่วยคือ hope, universality , altruism , cohesive , acceptance catharsis และ self – esteem บทบาทที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยจาก passive role เป็น active role เช่น การเป็นวิทยากรกลุ่ม การเป็นตัวแทนกลุ่มออกรายการวิทยุการรวมตัวจัดตั้งเป็นชมรม ( Self help group ชมรมศรีตรังสายสัมพันธ์)การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับสมาคม เพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย การเป็นตัวแทนชมรม ฯ นำเสนอผลงานในที่ประชุมเครือข่ายระดับประเทศ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ จากประสบการณ์ดำเนินโครงการกลุ่มพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชไปสู่การพึ่งพิงตนเองได้นั้น นอกจากจะอาศัยการจัดการกิจกรรมกลุ่มที่ให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และการมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาลบ้าน และชุมชนแล้ว ความต่อเนื่องสม่ำเสมอของโครงการกลุ่มก็เป็นสิ่งสำคัญ

Keywords: จิตเวช, คุณภาพชีวิต, ครอบครัว, สังคม, ศักยภาพ, กลุ่มพัฒนาศักยภาพ, กิจกรรมกลุ่ม, กลุ่มบำบัด, ผู้ป่วยโรคจิต, จิตเวชศาสตร์, ผู้ป่วยจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์

Code: 20050000110

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -