ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์, นพ.วีระเดช วีระพงศ์เศรษฐ์, พญ.อัญชุลี เตมียะประดิษฐ์และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 176.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยและนำไปสู่การสูญเสียสมรรถภาพของบุคคลและเศรษฐานะทางสังคมโรคซึมเศร้า มีความชุกตลอดชีพ ร้อยละ 15 และอาจสูงถึง ร้อยละ 25 ในเพศหญิงและยังพบอุบัติการณ์ ในสถานบริการในระดับสาธารณสุขมูลฐานถึงร้อยละ 10 โรคซึมเศร้ามีแนวโน้มเป็นโรคเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำ ความสูญเสียทางสุขภาพที่เกิดจากโรค WHO (2001) ได้จัดลำดับโรคทางจิตเวชอยู่ใน 20 อันดับแรกถึง 3 โรคซึ่งเป็นกลุ่มที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่แย่ (Disease burden) และได้ประมาณการว่าโรคซึมเศร้ารุนแรงจะเป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจ จากอันดับ 7 ในปี 1990 เป็นอันดับ 1 เคียงคู่กับโรคหัวใจขาดเลือด ในปี 2020 ดังนั้นจึงมีความสำคัญต่อบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลรักษา ส่งเสริม ป้องกัน คณะผู้จัดทำจึงได้ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าและความชุกของโรคซึมเศร้าดังกล่าว วัตถุประสงค์ 1.เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับการเกิดโรคซึมเศร้าที่สามารถป้องกันได้ 2.เพื่อค้นหาความชุกของปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้าที่สามารถนำมาคำนวณภาระโรคได้ ขอบเขตการศึกษา มุ่งศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ระดับสูงที่มีค่าความเสี่ยงสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับสามในโรคซึมเศร้า วิธีการศึกษา ทบทวนวรรณกรรมทางระบาดวิทยา 1.สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ทาง Internet และ Review Iiterature 2.พิจารณาเนื้อหาจากบทคัดย่อว่ามีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า ทำการบันทึกปัจจัยเสี่ยง จากค่า Relative Risk Odd Ratio 3.ประเมินคุณภาพของบทความใช้วิธีประเมินโดย Critical appraisal 4.เปรียบเทียบความสำคัญให้เหลือสามลำดับแรก สรุปผลการศึกษา จากการทบทวนปัจจัยเสี่ยงของ Depressive Disorder คณะผู้รวบรวมได้พิจารณาจากค่า Odd Rario ที่สูงมากกว่าหรือใกล้เคียง 3 ขึ้นไป ได้ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 3 ปัจจัยแรก มีดังต่อไปนี้ 1.ด้านกรรมพันธุ์ (Genetic) OR=2.84 2.โรคและอาการทางอารมณ์ (major Depressive episode)OR=11.5(Dysthymia)or=5.5 3.ปัจจัยเสี่ยงการติดแอลกอฮอล์และสารเสพติด (Alcohol dependence male)OR=2.84 (Alcohol dependence female)OR=3.52(cannabis dependence)OR=4.0 ข้อเสนอแนะ 1.นำปัจจัยเสี่ยงบางชนิดไปวางแผนเชิงส่งเสริมป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในประชากรไทย 2.นำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาต่อในระดับประเทศเพื่อยื่นยันความถูกต้อง และความเป็นไปได้ในการขยายผลใช้กับประชากรไทย

Keywords: โรคซึมเศร้า, โรคเรื้อรัง, ความเสี่ยง, ปัจจัย, สุขภาพ, จิตเวช, คุณภาพชีวิต, อารมณ์, จิตเวชศาสตร์, ระบาดวิทยา, ความชุกโรคซึมเศร้า, โรคทางจิตเวช, ความสูญเสียทางสุขภาพ, ปัจจัยเสี่ยง, ซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ศูนย์วิกฤตสุขภาพจิต โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

Code: 20050000123

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -