ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จันทร์ฉาย เนตรสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: การปรับพฤติกรรม : กรณีศึกษาเด็กถูกทารุณกรรม 1 ราย

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 237. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การศึกษาวิจัยได้บ่งชี้ว่าการที่เด็กถูกทิ้ง จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กมีแนวโน้มสูงมากที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้มีพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง และกลายเป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อไปเอง ดังนั้นการแสดงพฤติกรรมของเด็กที่มีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวรุนแรงเป็นสิ่งที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตั้งแต่เบื้องต้นไม่ว่าเด็กจะแสดงออกทางคำพูดหรือการกระทำ ซึ่งพฤติกรรมนี้พบได้บ่อยในเด็กที่มีประวัติถูกทารุณกรรม และพบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมข่มขู่คนอื่นนั้นจะส่งผลให้เด็กอื่นๆ หวาดกลัว ไม่เล่นด้วย ทำให้เด็กไม่มีเพื่อนคบหาสมาคม ขาดทักษะทางสังคม ตัวเด็กเองจะรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า โดดเดี่ยว เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวมีผลกระทบทางลบ จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม สังคมยอมรับ และสามารถใช้วิธีการนี้ ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ในชีวิตประจำวันต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปรับตัวการข่มขู่ในเด็กถูกทารุณกรรม วิธีการศึกษา ศึกษาจากกรณีศึกษา 1 ราย ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1. สร้างสัมพันธภาพให้เกิดความไว้วางใจ 2. สำรวจปัญหาและพฤติกรรมเป้าหมาย และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมขุ่มขู่ กับเรื่องผลกระทบจากการถูกทารุณกรรม และความจำเป็นที่ดีกับผู้อื่น มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ชี้ประเด็นให้เห็นว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ Subject สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการฝึกฝนทักษะต่างๆ (ยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นของ Subject ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น) 3. มอบหมายการบ้านให้ Subject ไปทำคือ 1) สำรวจตนเองเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกก่อนพูด ถ้ามีอารมณ์โกรธให้เตือนตนเองว่าไม่ควรทำร้ายใคร/ไม่ควรที่จะพูดตะคอก/ขู่ใคร นอกจากเตือนตนเองแล้วให้ฝึกทักษะการแสดงอารมณ์โกรธ เรียนรู้ที่จะสัมผัสอารมณ์โกรธควบคู่ไปกับการเรียนรู้ที่จะควบคุมการแสดงออกให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม 2) ฝึกทักษะการสื่อสารบอกความต้องการแทนคำพูดการขุ่มขู่ เช่น "พี่อยากทานขนม น้องช่วยแบ่งหน่อยได้ไหม" เน้นให้เด็กบอกความรู้สึกและบอกความต้องการ 3) ฝึกการกล้าเผชิญกับความจริง ฝึกทักษะการกล้าแสดงออก โดยมุ่งเน้นให้เด็กมีการแสดงออกอย่างธรรมชาติมากที่สุด ตามสภาพการณ์ที่เป็นอยู่และสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ด้วยวิธีทางบวก (ยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริง เช่น "หนูแอบหยิบขนมในตู้เย็นโดยที่แม่ๆ ไม่เห็น หนูรู้สึกเสียใจที่ทำอย่างนั้น ต่อไปจะไม่ทำแบบนี้อีก"

Keywords: เด็ก, ทารุณกรรมเด็ก, พฤติกรรมก้าวร้าว, เด็กถูกทิ้ง, เด็กถูกทารุณกรรม, การปรับตัว, พฤติกรรม, จิตเวช, จิตวิทยาเด็ก

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: งานจิตเวชเด็กและวัยรุ่น กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต

Code: 000000123

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -