ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริพร ทองบ่อ, นิมิตร แก้วอาจ, ธิดา รัตนสมบัติ, นายสุดใจ เหล่าสมบัติและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการให้การปรึกษาผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 179.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์ปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าบริโภคแอลกอฮอล์เกินควร เป็นสาเหตุของความตายและความพิการทั่วโลกถึงร้อยละ 4 และพบว่าร้อยละ 30 ของการตายจากโรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคตับ โรคชัก อุบัติเหตุจราจร ฆาตรกรรมและการบาดเจ็บโดยเจตนามีสาเหตุจากการบริโภคแอลกอฮอล์ เช่นกัน นอกจากแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายแล้วยังทำให้ระดับเชาวน์ปัญญาลดลงก่อให้เกิดโรคจิต เช่น ประสาทหลอน หวาดระแวง ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า สำหรับประเทศไทยมีการบริโภค แอลกอฮอล์สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มมากขึ้นในทุกเพศและทุกกลุ่มอายุเป็น 1 เท่าทุก 3ปี โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดบริการให้การปรึกษาผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยเหลือซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์สามารถเลิกบริโภคแอลกอฮอล์ วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ สามารถเลิกใช้แอลกอฮอล์ได้ ขอบเขตการดำเนินงาน ผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ที่มาใช้บริการที่หน่วยจิตสังคมบำบัดในช่วงระยะเวลาตั้งเดือน กุมภาพันธ์ 2548 ถึง พฤษภาคม 2548 จำนวน 15 คน วิธีดำเนินการ 1.ขั้นเตรียมการ ให้ความรู้เกี่ยวกับสุรา โปรแกรมการรักษา ประเมินระดับความรุนแรงของการใช้แอลกอฮอล์และภาวะขาดสุราเพื่อให้ผู้รับบริการมองเห็นปัญหา มีแรงจูงใจที่จะเลิกใช้สุรา 2.ขั้นดำเนินการให้บริการตามโปรแกรมการให้การปรึกษาสำหรับผู้ประสบปัญหา แอลกอฮอล์ พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต โดยผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับครอบครัว 1 ครั้ง 3.ขั้นสรุป / วิเคราะห์ประเมินผล 4.การติดตาม ติดตามผลการบำบัด 3 ครั้งคือ สัปดาห์ที่ 2, 4 และ 8 หลังสิ้นสุดบริการ สรุปผลโครงการ ผลการพบว่าผู้ประสบปัญหา แอลกอฮอล์ สามารถเลิกดื่มได้ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 (N=15) ส่วนที่เหลืออีก 2 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 (N=15) ยังคงดื่มแต่ลดปริมาณการดื่มลง ทั้งนี้พบว่ามีปัญหาสัมพันธภาพกับมารดาซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้กลับไปดื่มซ้ำที่เป็นปัญหาต้องได้รับการแก้ไขต่อไป ข้อเสนอแนะ ในการให้การปรึกษาผู้ให้การบำบัดจะต้องมีศักยภาพในการวิเคราะห์และประเมินแรงจูงใจรับการบำบัดเพื่อช่วยให้มีความมุ่งมั่นไปสู้เป้าหมายได้สำเร็จ

Keywords: แอลกอฮอล์, โรคจิต, แนวโน้ม, การบริโภค, ประสาทหลอน, หวาดระแวง, ความจำเสื่อม, โรคซึมเศร้า, ความรุนแรง, แรงจูงใจ, เหล้า, สุรา, โรคจิต, สารเสพติด, ยาเสพติด, การปรึกษา, ให้การปรึกษา, โปรแกรมให้การปรึกษา, บำบัดยาเสพติด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: หน่วยจิตสังคมบำบัด โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 20050000125

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -