ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวรรณี เนตรศรีทอง, ปฐมมามาศ โชติบัณ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาผลกระทบต่อการจัดบริการสุขภาพและกำลังขวัญของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในภาวะวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 187-188.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจและผลกระทบในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดบริการสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วัดกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อหาแนวทางการจัดบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิธีการ ศึกษาในเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย 15 อำเภอ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 458 คน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้แบบสองถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviastion) ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าสาธารณสุขเป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.6 มีอายุสูงกว่า 35 ปี ร้อยละ 47.5 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 74.8 ปฏิบัติงานในจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 40.8 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยปัจจุบัน อยู่ระหว่าง 4-10 ปี ร้อยละ 39.1 ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 88.7 จบการศึกษาสูงสุดระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 51.7 มีสถานะเป็นข้าราชการ ร้อยละ 92.0 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติงาน ร้องละ 72.3 รายได้ประจำเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 8,001-15,000 บาท ร้อยละ 52.9 ที่พักอาศัยตั้งอยู่ในเขตอำเภอที่ตั้งสถานีอนามัย ร้อยละ 64.7 พักอาศัยอยู่รวมกับครอบครัว ร้อยละ 81.9 และบ้านที่พักอาศัย เป็นบ้านของตนเอง ร้อยละ 60.9 แรงจูงใจและผลกระทบในการทำงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาปฏิบัติงานที่ทำปัจจุบันโดยจับฉลากได้รับการจัดสรร ร้อยละ 57.1 ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่รู้สึกไม่ปลอดภัย ร้อยละ 89.9 และมีความกังวลใจของบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 80.3 กระทบต่อการดำเนินชีวิตแระจำวัน ร้อยละ 68.5 เห็นว่ามาตรการทางด้านความปลอดภัยที่ทางราชการดำเนินการ ยังไม่เพียงพอ ร้อยละ 67.6 และ การจัดสรรเงินตอบแทนบุคลากรในพื้นที่เสี่ยงภัยยังไม่เหมาะสม ร้อยละ 66.4 โดยได้ให้เหตุผลว่าควรพิจารณาเงินเสี่ยงภัยและค่าตอบแทนให้เหมาะสมตามสภาพการเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อการจัดบริการสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยากให้หน่วยงานสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุขยกระดับคุณวุฒิและความสามารถโดยการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อเนื่องมากที่สุดร้อยละ 39.5 ควรจัดทำแผนงบประมาณ และบุคลากรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ 28.6 และเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้รับโอกาสในการศึกษาค้นคว้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขมากขึ้นและเพียงพอร้อยละ 28.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเห็นว่า ระบบการจัดสรรบุคลากรยังไม่สอดคล้องกับจำนวนประชาชน ร้อยละ 25.0 ในภาวะวิกฤติยังไม่มีการจัดบุคลากรเสริมให้จนเพียงพอ ร้อยละ 24.4 ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขเห็นมากที่สุดว่า ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนและเงินสวัสดิการกว่าจะได้รับใช้ระยะเวลานานเกินไป ร้อยละ 37.4 รู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 36.1 และเห็นว่าพาหนะอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในสถานบริการ ยังไม่เพียงพอ ร้อยละ 35.7 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเห็นว่าไม่มีมิตรเพื่อนร่วมงานถึงส่วนใหญ่เป็นมิตรร้อยละ 68.5 สามัคคี มีความร่วมมือกันทำงาน ร้อยละ 61.3 และ 56.3 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาภาพรวมรายด้านพบว่า กำลังขวัญในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.18 ในด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน รองลงมาในด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.96 ระดับกำลังขวัญในการปฏิบัติงานไม่ดี ค่าเฉลี่ยต่ำสุดในด้าน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ค่าเฉลี่ย 1.32 ส่วนใหญ่เห็นว่า ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนและเงินสวัสดิการอื่นๆยังไม่เพียงพอและเหมาะสม ด้านความมั่นคงปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.96 และความก้าวหน้าในงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.12 ข้อเสนอแนะ แนวทางการจัดบริการที่เหมาะสม 1.ด้านปัญหาการขาดแคลนบุคลากรควรสนับสนุนให้มีบุคลากรประจำสถานีอนามัยอย่างน้อย 3 คน ควรลดสัดส่วนจาก 1:1250 เป็น 1:800 ควรให้บุคลากรในพื้นที่เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ตนเอง พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นเจ้าหน้าที่สนับสนุนงบประมาณในการจ่ายค่าตอบแทน จัดกำลังหมุนเวียนช่วยเหลือในระดับสถานีอนามัย 2.ด้านการปฏิบัติงานควรปรับลดการทำงานในเชิงรุกในชุมชนในช่วงเวลาที่ไม่มีความปลอดภัยให้พัฒนางานสถานีบริการให้เป็นหน่วยงานบริการสาธารณสุขพื้นฐานที่มีศักยภาพสูงขึ้นการทำงานในชุมชนควรมีการรวมตัวของสถานีอนามัยใกล้กันหรือกับโรงพยาบาลชุมชน ควรเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้นปรับเปลี่ยนเวลาให้บริการตามความเหมาะสม การจัดสรรงบประมาณภัณฑ์ผ่าน CUP หรือโรงพยาบาลควรเหมาะสมและรวดเร็ว 3.พัฒนาระบบการทำงานด้านข้อมูลและรายงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องมาเสียเวลากับข้อมูลมากเกินไปและควรให้แต่ละพื้นที่กำหนดเป้าหมายของตนเองและทำงานตามปัญหาของพื้นที่นั้น ข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างขวัญกำลังใจ 1.ด้านความปลอดภัยควรมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ควรสนับสนุนยายพาหนะและอุปกรณ์สื่อสารให้เหมาะสมกับพื้นที่ ควรมีรถรับส่งเพื่อเข้าปฏิบัติงาน ควรแต่งกายไม่ให้แตกต่างจากประชาชน ควรซ่อมแซมบ้านพักและรั้วสถานีอนามัยให้มั่นคงแข็งแรง 2.ด้านสวัสดิการ ควรพิจารณาค่าตอบแทน ค่าเสี่ยภัยให้เหมาะสมไม่ให้เลื่อมล้ำกันมากเกินไป ควรพิจารณาตามความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน การเบิกจ่ายเงินทุกประเภทควรมีความรวดเร็ว เดือนต่อเดือน ควรเพิ่มวงเงินประกันภัย พิจารณาขั้นพิเศษ บัตรเหรียญชัยสมรภูมิ 3.ด้านผู้บริหาร ควรดูแลเอาใจใส่สอบถาม เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ เมื่อพบปัญหาควรรีบให้ความช่วยเหลือแทนการตำหนิ การพิจารณาความดีความชอบให้เป็นกรณีพิเศษและมีเกณฑ์การพิจารณาที่ขัดเจน ยกเลิกประเมินตามมาตรการที่ 3 ควรพิจารณาให้เจ้าหน้าที่สาธาณสุขที่มีผลการปฏิบัติงานดีได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ 4.ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ควรให้เจ้าหน้าที่สำเร็จการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น สามารถปรับตำแหน่งได้ตามวุฒิที่ได้รับตำแหน่งที่ครองอยู่ไม่ต้องย้ายที่ทำงาน ลดปัญหาขาดแคลนบุคลากร ควรพิจารณาได้รับสิทธิพิเศษในการศึกษาต่อ ควรให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสบรรจุเป็นข้าราชการ 5.อื่นๆควรมีการจัดเลี้ยงพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำเสนอผลงานร่วมกันและจัดให้มีการศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่ระดับสถานีอนามัย

Keywords: สุขภาพ, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, ผลกระทบ, แรงจูงใจ, ครอบครัว, ความปลอดภัย, ค่าตอบแทน, บริการสุขภาพ, ขวัญกำลังใจ, ภาวะวิกฤติ, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, เหตุการณ์ความไม่สงบ, ภาคใต้, เงินตอบแทน, เงิน, ชายแดน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: -

Code: 20050000132

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -