ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เพ็ชรสลี สุวรรณมาศ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการพัฒนาชุมชนเป็นสุขพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้านจังหวัดร้อยเอ็ด

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 191.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลกสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตปัจจุบันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลเสียต่อสังคมและวิถีชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรงซึ่งนโยบายสุขภาพจิตและกลยุทธ์เดิมอาจจะไม่ทันกับสถานการณการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของสังคมโลก ที่ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มจะรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนในสังคมควรร่วมกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแบบบูรณาการให้เกิดชุมชนเป็นสุข ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัญหาความทุกข์ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด และพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนเป็นสุขบนพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้านจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อให้เกิดสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การคัดเลือกพื้นที่วิจัยเลือกพื้นที่ที่มี ความพร้อม จำนวน 18 หมู่บ้าน ในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ แกนนำประชาชนในหมู่บ้าน ๆ ละ 5 คนผู้รับผิดชอบประจำหมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน และคณะทำงานภาคีหุ้นส่วน รวม 120 คน วิธีดำเนินการศึกษาคือการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบประเมินสุขภาวะระดับครอบครัว สรุปผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่ปัญหาความทุกข์ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด คือความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะคิดมากจากการมีหนี้สิน ส่วนการดำเนินการพัฒนารูปแบบกระบวนการสร้างชุมชนเป็นสุขบนพื้นฐานภูมิปัญหาชาวบ้านจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่ามีการดำเนินการใน 3 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาแกนนำผู้ขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนเป็นสุข 2.) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสุขภาวะ 3.) การติดตามประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม และผลประเมินสุขภาวะในระยะดำเนินการปีที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะระดับครอบครัว ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ข้อเสนอแนะ กระบวนการชุมชนเป็นสุข บนพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้านจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่สุขภาวะระดับครอบครัว และระดับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

Keywords: ภูมิปัญญา, พัฒนาชุมชน, สุขภาพจิต, สุขภาพ, ครอบครัว, ชุมชน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ความสุข, ความทุกข์, สุขภาวะครอบครัว

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

Code: 20050000134

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -