ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์, โซเฟีย อาแว, นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล] สุชาดา สาครเสถียร

ชื่อเรื่อง/Title: รายงานการทบทวนสถานการณ์เรื่องพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้าง ทักษะชีวิตและการให้การปรึกษา

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 193

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การทบทวนสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นปัจจุบันการเสริมสร้างทักษะชีวิต และการให้การปรึกษา มีวัตถุประสงค์เพี่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิต และการให้การปรึกษาในชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของวัยรุ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการทบทวนสถานการณ์ปัญหาของวัยรุ่นในปัจจุบันพบว่า ปัจจุบันวัยรุ่นมีความเหินห่างครอบครัว ชอบสะสมของมียี่ห้อและบริโภคอาหารตามเพื่อนและตามแฟชั่น ส่วนใหญ่ละเลยพิธีกรรมทางศาสนาการใช้เวลาว่างของวัยรุ่นใน 3 อันดับ ต้น คือ การแซ็ตหรือการส่ง SMS ทางโทรศัพท์มือถือ การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์และการใช้คอมพิวแตอร์ วัยรุ่นมีทัศนคติยอมรับการมี เพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น วัยรุ่นชายยอมรับการมีคู่หลายคน และยอมรับพฤติกรรมแสดงความรัก (โอบกอด สัมผัส) ในที่สาธารณะ และมีทัศนะคติที่ผิดๆ ต่อการใช้ถุงยางอนามัย เช่น ผู้ชายหญิงที่คิดว่ามีเพศสัมพันธ์ด้วยความรักไม่ควรใช้ถุงยางอนามัยผู้ชายจะไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนที่ไม่ใช่หญิงขายบริการ วัยรุ่นปัจจุบันมีเพศสัมพันธ์กันเร็วขึ้นและขาดการป้องกันโดยเฉพาะการมีเพศสัมพัธ์ครั้งแรกของผู้ชาย หญิงมักเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน สำหรับความรู้สึกของวัยรุ่นต่อระบบบริการสาธารณสุขพบว่า วัยรุ่นมีความรู้สึกไม่ดีต่อโรงพยาบาลของรัฐ การให้บริการไม่มีการเป็นส่วนตัว ไม่สะดวกสบายให้บริการไม่ประทับใจ ไม่เป็นมิตรโดยเฉพาะขาดระบบรักษาความลับที่ดี ส่วนการดำเนินการเสริมสร้างทักษะชีวิตวัยรุ่น พบว่า ในสถาบันการศึกษาเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก แต่เนื้อหาการเรียนรู้ยังขาดความเป็นปัจจุบัน ขาดเนื้อหาเพศและทักษะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัยทางเพศ อีกทั้งยังขาดวิธีการสอนที่สนุกสนาน ขาดสื่อที่จูงใจ ขาดหลักสูตรที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ ของวัยรุ่นและสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้ ส่วนทักษะชีวิตนอกระบบการศึกษา ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ส่วนใหญ่ คือ องค์กรเอกชนและครูการศึกษานอกโรงเรียน รูปแบบการถ่ายถอดมีหลากหลายโดยเน้นให้เกิดความสนุกสนาน จูงใจเด็ก อย่างไรก็ตามการดำเนินงานทักษะชีวิตนอกระบบโรงเรียนยังขาดการเผยแพร่โปรแกรมให้กว้างขวางครอบคลุมวัยรุ่นกลุ่ม ในประเด็นการให้คำปรึกษาพบว่ายังไม่มีการเปิดบริการให้การปรึกษากับวัยรุ่นขาดการบริการเพื่อการป้องกันปัญหาวัยรุ่น อีกทั้งบริการไม่เอื้อ ต่อการสร้างแรงจูงใจให้วัยรุ่นเข้ารับบริการ

Keywords: พฤติกรรม, เพศ, วัยรุ่น, ทักษะชีวิต, ครอบครัว, แรงจูงใจ, ทัศนคติ, เพศสัมพันธ์, สุขภาพ,โรงพยาบาล, บริการ, การให้การปรึกษา, ปรึกษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

Code: 20050000136

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: