ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, อมรากุล อินโอชานนท์, กาญจนา วณิชรมณีย์, รวิวรรณ ศรีสุชาติ, สุจิรา เนาวรัตน์

ชื่อเรื่อง/Title: รายงานการวิจัยการประเมินผลโครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตเด็กไทยวัยแรกเกิด-5 ปี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 194.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การประเมินผลโครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตเด็กไทยวัยแรกเกิด-5 ปี จัดทำขึ้นเพื่อติดตามประเมินผลโครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตเด็กไทยวัยแรกเกิด-5 ปีโดยเป็นการประเมินเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรกรมสุขภาพจิตที่ผ่านการอบรมวิทยากรระดับเขต ครู/เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผ่านการอบรมการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ และผู้ปกครองเด็กนักเรียนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง(Structured Questionnaire) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบทดสอบที่มีโครงสร้าง โดยดำเนินการในช่วง 24 มิถุนายน 13 สิงหาคม สิงหาคม 2547 การวิจัยสรุปว่า ด้านทัศนคติที่มีต่อโครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตเด็กไทยวัยแรกเกิด-5ปีด้านความพร้อมของบุคลากรด้านอื่นๆด้านความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงาน บทบาทหน้าที่ตน ด้านความพึงพอใจ ในการอบรมโครงการฯ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรวบรวมข้อมูลพัฒนาการด้านอารมณ์เด็ก ด้านภาวะการร่วมมือในการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ การสนับสนุนด้านวิชาการ การนิเทศและติดตามผล และด้านงบประมาณ โดยพบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจและประสบผลสำเร็จในทุกๆด้าน บุคลากรกรมสุขภาพจิตและกลุ่มครู/เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองมองเห็นความสำคัญและความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตเด็กไทย และสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะ -ครูที่เข้าร่วมควรเป็นผู้เลี้ยงดูอบรมเด็กโดยตรงเพื่อที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ -ควรมีการอบรมเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง ควรมีการร่วมมือกันในการผลิตสื่อเทคโนโลยีต่างๆ -ให้สถานีอนามัยแต่ละท้องที่ร่วมมือเป็นที่ปรึกษาให้กับทางโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และควรจัดให้มีระบบโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบเครือข่ายเพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน -ในการประเมินผลนักเรียน ควรให้เวลาครู/เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อย 6 เดือน

Keywords: สุขภาพจิต, เด็ก, อามรณ์, ทัศนคติ, ความพึงพอใจ, ครู, ความฉลาดทางอารมณ์, อีคิว

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

Code: 20050000137

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: