ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

ชื่อเรื่อง/Title: นวัตกรรมคลายเครียด กรณีศึกษาสำหรับผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 195-196.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยประสมภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทั้งทางตรง และทางอ้อมอย่างต่อเนื่อง ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น มากมาย อาทิ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาครอบครัว หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ จากวุฒิทางอารมณ์ แสดงให้เห็นได้ว่า ประชาชนมีความเครียดสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนประชาชนที่เข้ารับการรักษาในกลุ่มงานจิตเวช จังหวัดฉะเชิงเทรา จากปี 2542 ถึง ปี 2547 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 30% นอกจากนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่า คดีต่างๆ ที่รุนแรงในสังคม มีอัตราเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน เช่น คดีฆ่าตัวตาย คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืนและฆ่า เป็นต้น ซึ่งถ้าพิจารณาสาเหตุของปัญหาต่างๆ ประการหนึ่งมาจาก การขาดความรู้ ความเข้าใจ และแนวคิดในการพยุงจิตใจ เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตต่างๆ อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในวัยหนุ่มสาวซึ่งเป็นหลักในการก่อผลผลิตให้ประเทศ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายจึงมีความสำคัญในระดับต้นๆ ในการดำเนินงานสุขภาพจิต ดังนั้นกลุ่มงานจิตเวช ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานสุขภาพจิต จึงพยายามพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมใหม่ในการใช้ภูมิปัญญาไทยในการคลายเครียด ในการบำบัดผู้ที่ซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย เพื่อที่จะลดปัญหาซึมเศร้าและปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายต่อไป วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาแนวคิดนวัตกรรมใหม่ (การนวดหน้า เพื่อคลายเครียด) ในการบำบัดผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย 2.เพื่อสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมใหม่ (การนวดหน้า เพื่อคลายเครียด) ภูมิปัญญาไทยในการบำบัดผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย 3.เพื่อให้เกิดการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ และมีนวัตกรรมใหม่ในการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย และลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำ ขอบเขตการดำเนินการ ผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย และ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับบริการที่กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2547 ถึง มีนยาคม 2548 จะได้รับการทดลองใช้นวัตกรรมใหม่ภูมิปัญญาใหม่ภูมิปัญญาไทย (การนวดหน้า เพื่อคลายเครียด) ในการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย รายละเอียดดังขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทีมสุขภาพประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ขั้นตอนที่ 2 ให้การวินิจฉัยทางการแพทย์และพยาบาล ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการให้การดูแลทางสุขภาพจิต และ ให้การพยาบาล ขั้นตอนที่ 4 ตั้งเป้าหมายว่าผู้ป่วยที่ทีมดูแล จะต้องไม่ทำร้ายตนเอง ขั้นตอนที่ 5 ทีมสุขภาพจิต ต้องใช้สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ให้ผู้ป่วยได้ระบาย กระตุ้นให้ครอบครัวบุคคลรอบข้างมีความเข้าใจในผู้ป่วยมากขึ้น ผลการดำเนินการ จากการกำหนดดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการนำนวัตกรรมภูมิปัญญาไทยในการคลายเครียด ในการช่วยเหลือผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย พบว่า 1.การวัดความตึงของกล้ามเนื้อของผู้ป่วยก่อนและหลัง การใช้ภูมิปัญญาไทยในการคลายเครียดด้วยเครื่อง Biofeedback พบว่าความตึงของกล้ามเนื้อผู้ป่วยลดลง 2.จากการประเมินด้วยแบบวัดความเครียด พบว่า ค่าคะแนนความเครียดลดลง 3.จากการศึกษา และสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น ลักษณะ และท่าทางสบายใจขึ้น 4.จากการประเมินผู้ป่วยด้าน Projective Test พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะทางสุขภาพจิตดีขึ้น

Keywords: ซึมเศร้า, เครียด, ฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, พฤติกรรม, ครอบครัว, การศึกษา, อามรณ์, ความรุนแรง, นวัตกรรม, การป้องกัน, โรคซึมเศร้า, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, วิกฤตเศรษฐกิจ, นวัตกรรมคลายเครียด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

Code: 20050000138

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: