ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุรางค์ เลิศคชาธาร, อัชรีย์ โรจนากาศ, สมพร จารุทิกร

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาพฤติกรรมนิสัยด้านสุขอนามัยการนอนในผู้ป่วยจิตเวชที่นอนไม่หลับเรื้อรัง

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,ปีที่ 48, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2546, หน้า 3-12

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมนิสัยด้านสุขอนามัยการนอนในผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง และหาปัจจัยเกี่ยวข้อง วิธีการศึกษา คัดเลือกผู้ป่วยโดยวิธี random allocate ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช และมาพบจิตแพทย์ที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันประสาทวิทยา ระหว่างเดือนธันวาคม 2542 ถึง พฤษภาคม 2543 เลือกเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีอาการทางจิต ไม่มีพยาธิสภาพทางสมอง มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังนานมากกว่า 1 เดือน อายุระหว่าง 25-65 ปี มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้ติดตามผู้ป่วยนาน 3 เดือน เก็บข้อมูลระยะแรกเริ่มวิจัยโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น เก็บข้อมูลระยะที่ 2 หลังการรักษาโรคทางจิตเวช 3 เดือน โดยการโทรศัพท์สัมภาษณ์ สอบถามพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนอน-ตื่น ช่วงระยะ 3 เดือน ที่ทำการรักษาและส่งแบบสอบถามติดตามอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วย หลังการรักษาโรคทางจิตเวชนาน 3 เดือน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกได้ 175 ราย สามารถติดตามผู้ป่วยได้ครบถ้วนหลังการรักษา 3 เดือน จำนวน 74 ราย (ร้อยละ 42.3) อายุเฉลี่ย 47.11 ปี เป็นหญิง 53 ราย (ร้อยละ 71.6) ชาย 21 ราย (ร้อยละ 28 .3) อยู่ในช่วงอายุ 46-60 ปี มากที่สุด(ร้อยละ 45.94) รองลงมาช่วงอายุ 25-45 ปี (ร้อยละ 41.89) มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 45.94) รองลงมาช่วงอายุ 25-45 ปี (ร้อยละ 41.89) มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด(ร้อยละ 45.94) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษา(ร้อยละ 22.97) การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยกลุ่ม mood disorders (ร้อยละ 39) และ anxiety disorders (ร้อยละ 39) การประเมินพฤติกรรมนิสัยและกิจวัตรประจำวันใน 24 ชั่วโมง ในระยะ 3 เดือนหลังป่วยพบว่าผู้ป่วยมีสุขอนามัยการนอนดี 14 ราย (ร้อยละ 19) ไม่ดี จำนวน 60 ราย (ร้อยละ 81) สัดส่วนของผู้มีสุขอนามัยการนอนที่ดีในกลุ่มอายุต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P‹0.05)(2=7.05) โดยกลุ่มอายุ 46-60 ปี มีสุขอนามัยการนอนที่ดีต่ำกว่ากลุ่มอื่นมาก ผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญา มีแนวโน้มที่จะมีสุขอนามัยการนอนดีกว่าที่มีการศึกษาระดับประถมและมัธยม พฤติกรรมนิสัยที่รบกวนการนอนที่พบมาก ได้แก่ มีกิจกรรมที่ตึงเครียดไม่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน เข้านอน-ตื่นนอนไม่เป็นเวลา ใช้เวลาอยู่บนเตียงนอนมากเกินไป มีสิ่งเร้าที่รบกวนขณะหลับผู้ป่วยที่มีสุขอนามัยการนอนที่ดีมีอัตราการนอนหลับที่ดีขึ้นมากกว่าผู้ที่สุขอนามัยการนอนไม่ดี 3.67 เท่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 X2=7.62 สรุป ผู้ป่วยจิตเวชไทยที่มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมนิสัยด้านอนามัยการนอนที่ไม่ดี ซึ่งมีผลเสียต่อการรักษาอาการนอนไม่หลับ และให้มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังตามมา ผู้ป่วยกลุ่มวัยกลางคน (อายุ 46-60 ปี) มีสุขอนามัยการนอนที่ดีต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผู้ป่วยกลุ่มที่มีการศึกษาสูงมีสุขอนามัยการนอนที่ดีสูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติบ่งชี้ว่าความรู้และการศึกษาที่มากขึ้นมีส่วนช่วยให้เกิดสุขอนามัยการนอนที่ดีได้ การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยที่มีสุขอนามัยการนอนที่ดีมีอัตราการหาย หลับได้ปกติสูงกว่าผู้ที่มีอนามัยการนอนไม่ดีถึง 3.67 เท่า มีนัยสำคัญทางสถิติ แพทย์ผู้รักษาอาการนอนไม่หลับจึงควรให้ความสนใจซักถามลักษณะพฤติกรรมนิสัยที่รบกวนต่อการนอน และให้ความรู้ที่ถูกต้องร่วมกับการใช้ยาควบคู่กันไป

Keywords: สุขอนามัยการนอน, พฤติกรรมนิสัย, นอนไม่หลับเรื้อรัง, ผู้ป่วยจิตเวช, โรคจิต, นอนไม่หลับ, พฤติกรรม, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, สุขอนามัย, สุขภาพ, สถาบันประสาทวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: กลุ่มงานจิตเวช สถาบันประสาทวิทยา

Code: 20050000159

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.49MB