ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวรรณี พุทธิศรี, นงพงา ลิ้มสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: ความพึงพอใจในชีวิตคู่ของกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,ปีที่ 48, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2546, หน้า 13-21.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่สมรสในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการ สุ่มเลือกตัวอย่างจากประชากรหลายอาชีพ จำนวน 1,200 คน เพื่อตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำเป็นกลุ่มคำถาม 2 ชุด คำถามชุดแรก คือ ท่านได้รับสิ่งเหล่านี้จากชีวิตคู่หรือไม่ แบ่งคำถามย่อยเป็นสิ่งที่ได้รับจากชีวิตสมรสในด้านต่างๆ จำนวน 12 ข้อ คำถามชุดที่ 2 คือ ท่านมีปัญหาเหล่านี้กับคู่ของท่านหรือไม่ แบ่งคำถามย่อยเป็นปัญหาในด้านต่างๆ จำนวน 32 ข้อ คำตอบมีตัวเลือก 4 ชนิด คือ ไม่จริงเลย ไม่จริงเป็นส่วนมาก จริงเป็นส่วนมาก และจริงที่สุด ยกเว้นคำถามเรื่องสัมพันธภาพทางเพศจำนวน 3 ข้อ มีคำตอบ 2 ชนิด คือใช่ และไม่ใช่ ผลการศึกษา พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 727 คน อายุระหว่าง 21-75 ปี อายุเฉลี่ย 42 ปี กลุ่มอายุที่มากที่สุด คือ 43 ปี (ร้อยละ 8) อัตราส่วน ชาย : หญิง = 1:2 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับชีวิตคู่ (ร้อยละ 85.8-92.8) โดยเฉพาะเรื่องต้องการเลือกคู่ครองคนเดิมมีมากสูงสุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าไม่มีปัญหากับคู่สมรส(ร้อยละ 80.9-98.1) เมื่อแบ่งตามเพศพบว่าผู้ชายได้รับความพึงพอใจในชีวิตคู่มากกว่าผู้หญิงทุกข้อคำถามโดยเฉพาะเรื่องการได้รับความรัก ความอบอุ่นใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กำลังใจ ความสุขและมีสุขภาพจิตดีขึ้น ผู้ชายจะพึงพอใจมากกว่าผู้หญิงมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นผู้ชายไม่เห็นปัญหาของคู่สมรสมากกว่าผู้หญิงไม่เห็นปัญหาของคู่สมรสอย่างมีนัยสำคัญ ในเรื่องพูดจาไม่ดีต่อกัน เชื่อถือคนอื่นมากกว่า ติดยาเสพติด ติดสิ่งอื่นๆ ไม่ช่วยแบ่งเบาภาระ ไม่ช่วยดูแลลูก ให้เวลาครอบครัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็นและหาเรื่องทะเลาะ ในขณะที่ผู้หญิงเห็นว่าคู่สมรสของตนไม่หึงหวงมากจนขาดอิสระ มากกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญ ในคำถามเรื่องเพศสัมพันธ์ผู้หญิงที่ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรสก่อนแต่งงานและปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นหลังแต่งงานแล้วจะมีจำนวนมากกว่าผู้ชายที่ปฏิเสธในเรื่องทำนองเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผู้ชายไม่คิดว่าคู่สมรสนอกใจ มากกว่าผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญ สรุป กลุ่มตัวอย่างศึกษาส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจกับการมีชีวิตคู่ โดยเฉพาะผู้ชายมีความพึงพอใจมากกว่าผู้หญิงเกือบทุกด้าน และส่วนใหญ่ของประชากรที่ต้องการมีชีวิตคู่ถ้าเลือกคู่ใหม่ได้ก็เลือกคู่สมรสคนเดิม นอกจากนั้นประชากรกลุ่มศึกษาส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตดีขึ้นจากการมีชีวิตคู่ โดยเฉพาะผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิงอย่างชัดเจน

Keywords: ความพึงพอใจในชีวิตคู่, ชีวิตคู่, สุขภาพจิต, ความสุข, กรุงเทพมหานคร, คู่สมรส

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Code: 20050000160

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.40MB