ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริไชย หงส์สงวนศรีและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: กลุ่มบำบัดเพื่อให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับเด็กที่เป็นโรคอ้วน

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,ปีที่ 48, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2546, หน้า 23-35.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ โรคอ้วนในเด็กเป็นโรคที่รักษายากและกำลังมีแนวโน้มความชุกมากขึ้นในปัจจุบัน ทีมผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลการรักษาด้วยวิธีกลุ่มบำบัดที่เน้นการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน และอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว โดยทีมผู้รักษาแบบสหวิชาชีพ วิธีการ ผู้ป่วยเด็กโรคอ้วนอายุ 10-15 ปี จะได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง โดยใช้ Children’s Depression Inventory (CDI) และ Five-Scale Test of Self-esteem for Children (FSC) ตามลำดับ ก่อนการเข้าร่วมกลุ่มบำบัดที่ประกอบด้วยการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติในเรื่องอาหาร การออกกำลังการและกิจกรรมอื่น และกิจกรรมกลุ่มบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นเวลา 5 วัน เปรียบเทียบน้ำหนักและดัชนีมวลกายเมื่อครบ 5 วัน และติดตามเป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 26 คน (ชาย 17 คน หญิง 9 คน) อายุ 12.7 +-2.0 ดัชนีมวลกาย 33.3+-3.7กก./ม.ผู้ป่วย 6 คน (ร้อยละ 26.9) มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย กลุ่มผู้ป่วยมีคะแนน FSC ในด้านภาพรวมครอบครัว สังคม การศึกษา และรูปร่าง เท่ากับ 12.4+-2.1,14.3+-2.8,12.2+-1.8,10.7+-2.4,และ 8.0 +-1.9 ตามลำดับคะแนน FSC ด้านรูปร่างต่ำกว่าด้านอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกลุ่มบำบัดครบ 5 วัน จำนวน 24 คน มีน้ำหนักลดลงเฉลี่ย 0.8+0.9 กก.(86.3+-14.6 vs. 85.5+-14.8.p‹0.01)ผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาครบ 3 เดือน จำนวน 18 คน มีน้ำหนักลดลงเฉลี่ย 1.5 + 3.3 กก.(82.8+-13.9 vs. 81.3+-14.2,p=0.07)และดัชนีมวลกายลดลงเฉลี่ย 1.0+1.1 กก./ม.2(32.7+-3.5 vs. 31.7 +- 3.8,p=0.001) ดัชนีมวลกายของผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิงลดลงไม่แตกต่างกัน (0.9+-1.2 vs. 1.2+-1.0,p=0.53) ดัชนีมวลกายที่ลดลงไม่สัมพันธ์กับคะแนน CDI และ FSC ยกเว้นมีแนวโน้มสัมพันธ์กับคะแนน FSC ด้านภาพรวม (r=0.44,p=0.07) สรุป ผู้ป่วยเด็กโรคอ้วนมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยสูง และกลุ่มบำบัดเพื่อให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว สามารถช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี ดัชนีมวลกายที่ลดลงไม่สัมพันธ์กับเพศ ภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง

Keywords: โรคอ้วนในเด็ก, ภาวะซึมเศร้า, ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง, กลุ่มบำบัด, พฤติกรรม, เด็ก, สุขภาพจิต, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ดัชนีมวลกาย, โรคอ้วน, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 20050000161

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.09MB